เวทีเสวนา “Corruption Disruptors” รวมพลังนักวิชาการ ข้าราชการ และผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ถอดบทเรียนการใช้ AI ต่อต้านคอร์รัปชัน พร้อมชูแนวคิด “Integrity by Design” สร้างระบบไม่เอื้อต่อการโกง เสนอเปิดข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นระบบเพื่อขับเคลื่อนความโปร่งใสอย่างยั่งยืน
AI จุดเปลี่ยนสังคมไทย สู่สังคมไร้คอร์รัปชัน
เวทีเสวนา
“Corruption Disruptors: Empowering AI to Fight
Corruption” เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญด้าน
AI และการต่อต้านคอร์รัปชันทั้งในและต่างประเทศ
โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นเครื่องมือป้องกันและตรวจจับการทุจริตอย่างเป็นระบบ
จากเวทีโลกสู่ประเทศไทย: AI กับบทบาทต้านโกง
หนึ่งในไฮไลต์ของงานคือปาฐกถาโดย Ms. Elodie Beth Seo ผู้จัดการอาวุโสจาก OECD ซึ่งกล่าวว่า AI แม้จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาระบบ แต่ก็สามารถถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น การฟอกเงินผ่านคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งปัจจุบันกว่า 23% ของธุรกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นธุรกรรมผิดกฎหมาย
เธอชี้ว่า
หลายประเทศได้นำ AI มาช่วยเสริมการทำงานภาครัฐ เช่น
ประเทศไทยกับก้าวต่อไป
OECD เริ่มกระบวนการร่วมมือกับประเทศไทยแล้ว
โดยจับมือกับ World Justice Project และยกตัวอย่างความก้าวหน้าของไทย
เช่น แพลตฟอร์ม ACT AI ที่เชื่อมโยงข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกับข้อมูลนิติบุคคล
และรายชื่อผู้มีอิทธิพลทางการเมือง (PEPs) เพื่อคัดกรองความเสี่ยงการทุจริต
อย่างไรก็ตาม
ยังมีจุดที่ต้องพัฒนาเพิ่ม เช่น
1.
เสริมความโปร่งใสในกระบวนการทำงาน
2.
ผลักดันการเปิดข้อมูล (Open
Data)
3.
พัฒนากฎหมายการลงโทษสินบน
4.
ลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงานตรวจสอบ
5.
ส่งเสริมความร่วมมือภายในและระหว่างประเทศ
มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญไทยและอาเซียน ช่วงเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลาย ได้แก่
ดร.มานะ เน้นว่า ACT AI เป็นจุดเริ่มต้นของระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
แต่จะทำงานได้ต้องมีฐานข้อมูลที่ดี เปิดเผย และบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ACT
AI เข้ามาช่วยตรวจสอบวิเคราะห์ความถูกต้องของกรณีการทุจริตคอรัปชั่น
แม้หลายคนจะพูดว่าระบบ AI เข้ามาช่วยทำให้โจรทำงานง่ายขึ้น สิ่งที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องทำ
คือ การใช้ AI ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ด้าน พันธ์ศักดิ์ ชี้ว่า Data
Governance หรือการกำกับดูแลข้อมูล
คือหัวใจของการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเปิดเผย อัพเดต และเข้าถึงได้ทุกคน
โดยต้องมีกฎกติกาการใช้ข้อมูล
ที่มีธรรมาภิบาลมีความโปร่งใส ข้อมูลต้องมีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน และต้องมีหลายมิติ
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลไม่มีใครเป็นเจ้าของ ข้อมูลคือ ทรัพยากรของชาติ
(National Resources) มันคือ Open
Data ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
และ Data Governance ต้องถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้
เพื่อการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น
รศ.ดร.ต่อภัสสร์ เสริมว่า หากต้องการให้ AI ทำงานได้จริง ต้องทำให้ข้อมูลจากทุกหน่วยงานเชื่อมโยงกันได้ มาตรฐานเดียวกัน และเข้าถึงง่าย นอกจากนี้ ยังต้องเป็นข้อมูลที่มีความเป็นมาตรฐาน โดยการบูรณาการการทำงานของแต่ละหน่วยงานเข้าด้วยกัน
Ms.LAMINI จากอินโดนีเซีย
ยกตัวอย่าง “One Data Indonesia” ที่ช่วยให้หน่วยงานรัฐสามารถแชร์ข้อมูลเพื่อป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สิน
หรือการระบุทรัพย์สินที่ผิดปกติ
Integrity by Design คือคำตอบ
ช่วงท้ายเวที ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ประธานสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) เน้นว่า การ “จับคนโกง” อย่างเดียวไม่พอ ต้อง ออกแบบระบบไม่ให้โกงได้ตั้งแต่ต้นทาง หรือที่เรียกว่า “Integrity by Design”
เขายกตัวอย่างความสำเร็จของนโยบาย Open Government สมัยประธานาธิบดีโอบามา ที่เปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย โดยเสนอให้ไทยนำแนวคิดนี้มาปรับใช้ เช่น การปลดล็อกข้อมูลภาครัฐในรูปแบบที่วิเคราะห์ได้
บทส่งท้าย:
ความหวังเริ่มที่พลังของคนเล็กๆ
แม้การเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายอาจใช้เวลา
แต่ผู้ร่วมเสวนาทุกคนเห็นตรงกันว่า “พลังของภาคประชาชน”
คือจุดเริ่มต้นสำคัญ หากรวมพลังกับกลไกที่ถูกต้อง เช่น ตัวชี้วัดของ
OECD ก็สามารถเปลี่ยนระบบให้ใสสะอาดขึ้นได้
“เราต้องเลิกทำแบบเดิม และเริ่มสร้างระบบที่โกงไม่ได้ตั้งแต่แรก” คือสาระสำคัญของเวทีนี้