เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว ความซับซ้อนของอาชญากรรมไซเบอร์ก็ยิ่งล้ำหน้า ตลาด Crime Tech หรือเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกัน ตรวจจับ หรือรับมือกับอาชญากรรมจึงขยายตัวทั่วโลก ขณะที่ในประเทศไทย แม้จะมีความต้องการสูงมาก แต่กลับมีสตาร์ทอัพในสายนี้ไม่ถึง 10 ราย
อย่างไรก็ดี
จากการคาดการณ์ของ Gartner บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกด้านไอที
ระบุว่าในปี 2568 นี้
มูลค่าการลงทุนของบริษัทไทยด้านความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปจะสูงถึง 18,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 12.3% จากปีก่อน
นี่คือ
โอกาสของนักพัฒนาและสตาร์ทอัพไทยที่จะเปลี่ยนโจทย์ใหญ่นี้ให้กลายเป็นนวัตกรรม
โดยเวที True CyberSafe x TrueMoney Hackathon Thailand 2025 เปิดพื้นที่ให้ทุกความคิดได้เติบโต ไม่ว่าจะเป็นนิสิต นักศึกษา สตาร์ทอัพ
หรือประชาชนทั่วไป ให้มาร่วมกันแฮ็คเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยกว่า และต่อยอดสู่นวัตกรรม
Crime Tech ที่ใช้ได้จริง
ต่อไปนี้คือ
ข้อมูลเชิงลึกและข้อแนะนำจาก 3
วิทยากรในงานเปิดตัวโครงการที่อาจเป็นจุดตั้งต้นของการสร้างนวัตกรรมได้
Cybersecurity ที่แข็งแกร่ง ต้องมีทั้งนโยบาย เทคโนโลยี และคน
"Cybersecurity ไม่ใช่เรื่องของรัฐหรือองค์กรเท่านั้น
แต่คือระบบนิเวศที่ทุกคนเกี่ยวข้อง" พ.ต.ปวิช บูรพาชลทิศน์
จากสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)
กล่าวถึงภาพใหญ่ของการดูแลด้าน Cybersecurity ด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ไซเบอร์ปี 2562 สกมช.
กลายเป็นฟันเฟืองหลักในการกำกับดูแลและยกระดับความพร้อมของประเทศ
จากการดำเนินงานของ สกมช.
อย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 7
ของโลกด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตามดัชนี Global Cybersecurity Index
(GCI) ของ ITU แต่ในขณะเดียวกัน
ภัยไซเบอร์ก็พัฒนาเร็วไม่แพ้กัน โดยเฉพาะ Deepfake AI ที่สามารถสร้างภาพ
เสียง และวิดีโอปลอมได้แนบเนียน
สร้างความเสียหายระดับบุคคลจนถึงความมั่นคงของประเทศได้
พ.ต.ปวิชเสนอว่า
ทิศทางการสร้างนวัตกรรมในวันนี้ ต้องคิด “กลับด้าน”
โดยคิดสิ่งที่จะทำการตรวจจับสิ่งที่ปลอมแปลงที่ถูกสร้างขึ้นมาได้
ภัยไซเบอร์ที่เริ่มจากความเชื่อของเราเอง
“ในสนามจริง คนร้ายไม่ได้โจมตีที่เทคโนโลยี แต่มาที่สมองของเรา” พ.ต.อ.เกรียงไกร
พุทไธสง ผู้กํากับกลุ่มงานสนับสนุนทางไซเบอร์
กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี
กองบัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
เล่าถึงภัยที่แฝงตัวมาในรูปของจิตวิทยา เหยื่อมักหลงเชื่อเพราะถูกโน้มน้าวด้วย
Confirmation Bias หรือ
อคติที่หาหลักฐานมายืนยันความเชื่อของตัวเอง และ Social Proof ที่เป็นความเชื่อใจจากคนที่ดูน่าเชื่อถือ
คนร้ายจึงพยายามตัดการสื่อสารเหยื่อไม่ให้คุยกับคนอื่นในช่วงตัดสินใจ
เพราะคนที่อยู่นอกสถานการณ์จะมองออกว่าเป็นมิจฉาชีพได้ทันที
"เราจึงตั้งคำถามว่า จะมีเทคโนโลยีอะไรที่สามารถเตือนเหยื่อได้
‘ขณะกำลังตัดสินใจ’ ไม่ใช่หลังจากตกเป็นเหยื่อแล้ว " พ.ต.อ.เกรียงไกรกล่าว
นอกจากนี้ยังยกถึงการสร้างเทคโนโลยีที่จะระบุกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงได้อย่างเฉพาะเจาะจง
รวมถึงต้องเข้าใจวิถีชีวิตของผู้คนอย่างลึกซึ้งเพื่อออกแบบนวัตกรรมให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของพวกเขาได้
“เพราะเราจะออกแบบนวัตกรรมดีๆ ไม่ได้เลย
ถ้าเราไม่รู้ว่าคนขับวินมอเตอร์ไซค์ดูมือถืออย่างไร แม่ค้าออนไลน์กดส่งของอย่างไร
หรือผู้สูงวัยใช้โทรศัพท์แบบไหน” พ.ต.อ.เกรียงไกรทิ้งท้าย
เข้าใจมนุษย์ ก่อนออกแบบเทคโนโลยี
"Cybersecurity ที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องของความฉลาด
แต่ต้องเข้าใจมนุษย์" ผศ.ดร. ภัทรวรรณ ประสานพานิช อาจารย์สาขาวิชาการปฏิบัติการและเทคโนโลยี
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ
กล่าวถึงหัวใจสำคัญของการออกแบบโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
เพราะสิ่งที่ทำให้ผู้คนตกเป็นเหยื่อ
คือสถานการณ์ที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
โดยเด็กและวัยรุ่นหรือผู้สูงอายุล้วนมีจุดเปราะบางที่ที่ต่างกัน
ผู้สูงอายุอาจหลงเชื่อข้อความที่เร่งให้รีบคลิกเพราะกลัวบัญชีจะถูกล็อก
เด็กและวัยรุ่นอาจแชร์รหัสหรือข้อมูลเพราะต้องการการยอมรับในโลกออนไลน์
หนึ่งในวิธีที่สามารถออกแบบระบบให้
“สะกิด” ผู้ใช้ให้คิดก่อนคลิก คือการใช้หลัก Digital Nudging โดยเฉพาะการเลือกวางกรอบข้อความสื่อสาร (Framing message) ให้นำไปสู่พฤติกรรมที่ปลอดภัย เช่น เปลี่ยนจาก
“คุณแน่ใจหรือไม่ว่าจะดาวน์โหลดซอฟต์แวร์นี้” เป็น “ถ้าคุณดาวน์โหลด
อุปกรณ์ของคุณอาจติดมัลแวร์ได้” ช่วยให้ผู้ใช้รับรู้ผลกระทบและหยุดคิดก่อนคลิก
แม้จะเป็นการเปลี่ยนแค่ไม่กี่คำ
แต่กรอบการสื่อสารมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจของมนุษย์ เทคนิคที่ใช้ได้ผล
เช่น ใช้ตัวเลขจำนวนมาก เพื่อให้รู้สึกว่าสถานการณ์รุนแรง พูดถึงตัวผู้ใช้โดยตรง
แทนที่จะพูดถึงคนทั่วไป เพื่อให้รู้สึกเชื่อมโยง และ เน้นผลเสียที่จะเกิดขึ้น
มากกว่าผลดีที่จะได้รับ เพราะคนส่วนใหญ่มักตอบสนองต่อสิ่งที่ “กลัวจะเสีย” มากกว่า
สุดท้าย
นวัตกรรมหรือโซลูชันที่ดีจึงไม่ใช่แค่ฉลาด
แต่ต้องทำให้คนหมู่มากหรือเพียงคนธรรมดาก็สามารถปกป้องตัวเองได้
แม้ในวันที่ยังไม่รู้ว่ากำลังตกอยู่ในอันตราย
ทั้งหมดนี้คือมุมมองจาก 3 วิทยากรที่สะท้อนให้เห็นว่า การรับมือกับภัยไซเบอร์ในวันนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยีล้ำสมัย แต่คือการเข้าใจมนุษย์ พฤติกรรม และความเปราะบางในชีวิตประจำวันของผู้คน
เวทีการแข่งขัน “True
CyberSafe x TrueMoney Hackathon Thailand 2025” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 29 พฤศจิกายน 2568 เปิดโอกาสให้นวัตกรรุ่นใหม่
ทั้งสตาร์ทอัพ ประชาชนทั่วไทย นิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
นำเสนอความคิดสร้างสรรค์เป็นกลุ่มๆ ละ 4 – 5 คน
เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ให้ปลอดภัยยิ่งกว่าเดิม ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เยาวชน ผู้สูงอายุ
และชาวต่างชาติที่เป็นนักท่องเที่ยวและผู้ที่ทำงานในประเทศไทย ครอบคลุม 1 ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1.ใช้อินเทอร์เน็ตปลอดภัย
2.ใช้เงินปลอดภัย และ 3.ใช้ชีวิตปลอดภัย
ชิงเงินรางวัลและทุนการศึกษา รวมมูลค่ากว่า 430,000 บาท
โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1. และประชาชนทั่วไป (ไม่จำกัดอายุ) หรือสตาร์ทอัพ และ 2. นิสิต/นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ทุกชั้นปี จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
(โดยสมาชิกสามารถอยู่ต่างสถาบันได้)
ทั้งนี้ 30
ทีมที่ผ่านเข้ารอบ Hackathon จะได้มีโอกาสเข้าร่วมโปรแกรมบ่มเพาะกับทรู
แล็บ และ 6 ทีมสุดท้ายในระดับธุรกิจสตาร์ทอัพและประชาชนทั่วไป
จะได้รับเงินทุนพัฒนานวัตกรรม
นำไอเดียมาต่อยอดเพื่อพัฒนาเป็นโซลูชันที่สามารถใช้งานได้จริง
โดยเปิดให้ผู้ที่สนใจสมัครร่วมโครงการได้แล้ววันนี้ ถึง 11 กรกฎาคม
2568 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://linktr.ee/true_lab หรือ เฟซบุ๊ก True Lab