เปิดการประชุมระดับโลกด้านจริยธรรม AI “The 3rd UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” อย่างเป็นทางการแล้ว หนึ่ง Session ที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน ไม่แพ้ช่วง Open Ceremony นั่นก็คือ ช่วงการแถลงข่าว (Press Conference) จากผู้นำฝั่งไทยและ UNESCO นำโดย
· ประเสริฐ
จันทรรวงทอง
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
· ศาสตราจารย์พิเศษ
วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
·
Ms.Lidia Brito Assistant Director-General for Social and Human Sciences, UNESCO
โดยสรุปประเด็นสำคัญจากเวทีแถลงข่าวได้ ดังนี้
· ไทยประกาศตัวเป็น “ศูนย์กลางจริยธรรม AI” แห่งเอเชียแปซิฟิก
การจัดเวทีนี้ไม่ใช่แค่การเป็นเจ้าภาพ แต่คือ การเปิดประเทศรับบทผู้นำภูมิภาค
โดยเฉพาะการร่วมมือกับ UNESCO เพื่อจัดตั้ง AI Governance Practice Center (AIGPC) ที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม
วิจัย และขับเคลื่อนมาตรฐาน AI อย่างมีจริยธรรม
โดยศูนย์นี้อาจกลายเป็น ‘ศูนย์ประเภท 2 (Category 2)’
แห่งที่สี่ของ
UNESCO หากได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
· ไทยทุ่มลงทุนใหญ่ใน AI กว่า 15.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในช่วงปี 2568–2570 รัฐบาลตั้งเป้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนา
AI ทั้ง Data
Center, Cloud, โครงข่าย
5G, HPC และอื่น ๆ เพื่อให้ประเทศไทยพร้อมรองรับการใช้งาน
AI อย่างยั่งยืน พร้อมตั้งเป้า พัฒนาบุคลากรด้าน
AI ไม่น้อยกว่า 100,000
คน/ปี เพื่อวางรากฐานให้ระบบนิเวศ (AI Ecosystem) ของไทยแข็งแรงในทุกมิติ
· แผน AI เดินต่อไม่สะดุด
ภายใต้ “คณะกรรมการ AI แห่งชาติ”
เพื่อความต่อเนื่อง
ไทยจัดตั้ง “คณะกรรมการ AI แห่งชาติ” ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีนั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน
ผลักดันนโยบายอย่างต่อเนื่อง แม้อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี รับประกันได้แผน
AI ไทยไม่สะดุดกลางทาง
· ไทยพร้อมเดินหน้าทำงานร่วมกับทุกฝ่าย
ไทยเดินหน้าขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยี ร่วมกับประเทศอื่นๆ
ทั้งจากฝั่งตะวันตกและตะวันออก เพราะในโลก AI วันนี้ ความร่วมมือสำคัญกว่าการแข่งขัน
พร้อมส่งเสริมการพัฒนา AI ที่ตอบโจทย์ของตัวเอง โดยอิงบริบทท้องถิ่น
ความหลากหลาย และคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย ที่สำคัญยัง ผนึกกำลังด้าน AI กับ
อินเดีย ผ่าน MOU ความร่วมในด้านเทคโนโลยีมานานกว่า 2
ปี ปัจจุบันมีแผนนำผู้เชี่ยวชาญ AI จากอินเดียเข้ามาทำงานร่วมกับหน่วยงานไทย
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ยกระดับศักยภาพของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
อินเดียถูกยกให้เป็น Tech
Powerhouse ของกลุ่มประเทศ
Global South การจับมือกันครั้งนี้คือการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่
· มาตรฐาน
AI ต้องคิด “ข้ามพรมแดน” ไม่ใช่แค่ในประเทศ
เพราะ AI ไม่มีพรมแดน
การกำหนดมาตรฐานต้องอาศัย “จุดร่วม” ไม่ใช่ “ความแตกต่าง” ดังนั้น ไทยและ UNESCO จึงผลักดันแนวทาง
Regional Approach
เรียนรู้จากกรณีศึกษาภูมิภาค
นำมาประยุกต์สู่ข้อเสนอระดับโลก
· AI กับภารกิจ “สู้ภัยไซเบอร์–ข่าวปลอม”
AI ไม่ได้มีดีแค่สร้างเศรษฐกิจ แต่ยังกลายเป็นโล่ป้องกันสังคม โดยปัจจุบัน ไทยใช้ AI ตรวจจับข่าวปลอมได้มากกว่า 3,000 เรื่อง/วัน พร้อมร่วมมือกับ Interpol กับการเป็นผู้นำศูนย์ไซเบอร์ของอาเซียน และช่วยปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลอาชญากรรมไซเบอร์ระหว่างประเทศ
· ไทยพร้อมก้าวขึ้นเป็น
“ศูนย์กลาง AI แห่งภูมิภาค”
การจัดฟอรัมนี้เป็นทั้ง “เวทีระดับโลก” และ “บทพิสูจน์ความพร้อมของไทย” ทั้งในด้านยุทธศาสตร์, นโยบายที่ชัดเจน, การลงทุน, โครงสร้างพื้นฐาน และความร่วมมือระหว่างประเทศ ศูนย์ AIGPC ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะเป็นหัวใจในการฝึกอบรมบุคลากร AI ระดับภูมิภาค ส่งเสริมจริยธรรม เทคโนโลยีที่โปร่งใส และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
“AI ที่ดี ไม่ใช่แค่ฉลาด...แต่ต้องมีจริยธรรม
มีหัวใจ และสร้างอนาคตร่วมกันได้” ติดตามความสำเร็จของเวทีระดับโลกได้ที่เพจ
ETDA
Thailand