25 มิ.ย. 2568 153 0

เผย AI สามารถช่วยลดต้นทุนด้านความเสียหายโดยตรงจากภัยธรรมชาติได้ 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ภายในปี 2593

เผย AI สามารถช่วยลดต้นทุนด้านความเสียหายโดยตรงจากภัยธรรมชาติได้ 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ภายในปี 2593

·       รายงานล่าสุดเผย ศักยภาพของ AI ในการพลิกโฉมการวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน การรับมือ และการฟื้นฟูจากภัยพิบัติ ส่งผลให้เกิดแนวทางเชิงกลยุทธ์เพื่อลดต้นทุนความเสียหายจากภัยธรรมชาติในอนาคต

·       คาดการณ์ว่าภายในปี 2593 ภัยธรรมชาติจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกประมาณ 4.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

·       โครงสร้างพื้นฐานที่มีการนำ AI มาใช้ จะช่วยป้องกันความสูญเสียที่คาดการณ์ไว้ได้ประมาณร้อยละ 15 สะท้อนถึงการประหยัดต้นทุนที่มีศักยภาพประมาณ 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

·       AI มีศักยภาพในการช่วยลดความเสียหายจากพายุและอุทกภัย ซึ่งคาดว่าจะเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายมากที่สุด

·       ความร่วมมือระหว่างภาคส่วน ตั้งแต่บริษัทประกันภัย ไปจนถึงบริษัทเทคโนโลยี นับเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างประโยชน์จาก AI ทั้งทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้มีความแข็งแกร่ง

 

รายงาน “AI เพื่อความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานโดยศูนย์ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของดีลอยท์ เผยว่าการนำ AI มาใช้ จะช่วยผู้นำระดับโลกในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะช่วยในการวางแผน รับมือ และฟื้นฟู จากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจ โดยคาดว่าจะสามารถป้องกันความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานได้ประมาณ 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ทั้งนี้ การประเมินนี้ใช้กรณีศึกษาเชิงประจักษ์ การสร้างแบบจำลองความเสี่ยง และการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อแสดงว่าการนำ AI มาใช้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างพื้นฐาน สามารถสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการลงทุนเพื่อลดความสูญเสียและความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เจนนิเฟอร์ สไตน์แมนน์ ลีดเดอร์ด้านธุรกิจความยั่งยืน ดีลอยท์ โกลบอล กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานที่มีการใช้ AI สามารถช่วยผู้นำในการปกป้องชุมชนของตัวเองจากความเสี่ยงจากสภาพอากาศรุนแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทั้งนี้ การ นำ AI ไปใช้อย่างมีกลยุทธ์จะช่วยให้ผู้นำสามารถระบุความเสี่ยงได้เร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ป้องกันความล้มเหลวและดิสรัปชัน และเพิ่มคามเร็วในการตอบสนองและฟื้นฟูในขณะที่เกิดภัยธรรมชาติ โดยการลงทุนในโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานที่ขับเคลื่อนด้วย AI ทั้งแบบป้องกันและแบบตอบสนองยังช่วยป้องกันมูลค่าทางเศรษฐกิจและเพิ่มความยืดหยุ่นทางธุรกิจ

เหตุผลสำคัญในการลงทุนเพื่อความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐาน

เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าภัยธรรมชาติจะเกิดขึ้นบ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้น โครงสร้างพื้นฐานจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจก็ทำให้โครงสร้างพื้นฐานมีความเปราะบางต่อความเสี่ยงด้านอื่นๆ และส่งผลให้ความเสี่ยงโดยรวมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้นำองค์กรต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันเครือข่ายที่มีอยู่และโครงการในอนาคต ลดดิสรัปชันของการดำเนินงานให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ซึ่งพิจารณาจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่:

·       ผลกระทบทางการเงินที่คาดการณ์ไม่ได้และมีนัยสำคัญ

ภายในปี 2593 ความสูญเสียเฉลี่ยต่อปีจากภัยธรรมชาติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 4.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปจนถึงมากกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยพายุและอุทกภัยจะก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุด

·       ผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน


 โครงสร้างพื้นฐานที่ถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายสามารถขัดขวางการทำงานของบริการที่จำเป็น เช่น การประปา พลังงาน และการขนส่ง ยกตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าดับส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร หรือการขาดแคลนน้ำประปาส่งผลต่อการผลิตพลังงาน

·       ความเสี่ยงของโครงสร้างพื้นฐาน

โครงสร้างพื้นฐานที่เก่าและเสื่อมสภาพมีความเปราะบางต่อภัยธรรมชาติ แต่ความเสี่ยงเหล่านี้ยังคงพบได้ในโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานคาดการณ์ว่าจะมีค่าใช้จ่ายถึงหลายล้านล้านดอลลาร์ในช่วงทศวรรษข้างหน้า

การใช้ AI ในแต่ละขั้นตอนของวงจรโครงสร้างพื้นฐาน

การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ตั้งแต่การวางแผนโครงสร้างพื้นฐานจนถึงการดำเนินงาน ทำให้ให้มีแนวทางในการป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนอง เพื่อช่วยจัดการกับภัยธรรมชาติได้  ทำให้ผู้นำภาคเอกชนและภาครัฐมีทางเลือกในการดำเนินการเชิงรุกเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับก็มีความสำคัญอย่างมาก รายงานของดีลอยท์ โกลบอลพบว่า ภายในปี 2593 AI จะสามารถช่วยป้องกันความเสียหายจากพายุเพียงอย่างเดียวทั่วโลก ได้เฉลี่ย 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี  นอกจากนั้นยังช่วยผู้นำองค์กรจัดการความเสี่ยงเชิงรุกในด้านต่างๆ ดังนี้:

·       การวางแผน: โซลูชันต่าง ๆ เช่น ดิจิทัลทวิน (Digital Twins) โซลูชันวางแผนเมืองโดยใช้ AI และการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ สามารถช่วยให้ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบและจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดการและดูแลพืชพรรณเพื่อรักษาสายไฟและลดความเสี่ยงจากไฟป่า ซึ่งเป็นการป้องกันความเสียหายเชิงรุก

·       การรับมือ: ระบบตรวจจับและปฏิกิริยาที่ขับเคลื่อนด้วย AI เช่น ระบบเตือนภัยล่วงหน้า สามารถลดความเสี่ยงจากไฟป่าและอุทกภัย ยกตัวอย่างเช่น การตรวจจับไฟป่าล่วงหน้าได้แต่เนิ่นๆ สามารถช่วยลดความสูญเสียระหว่าง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในออสเตรเลีย โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการตรวจจับและตอบสนอง

·       การฟื้นฟู: AI สามารถประเมินความเสียหายหลังจากการเกิดภัยธรรมชาติได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้นำสามารถริเริ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญและฟื้นฟูชุมชนได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็สามารถลดปริมาณการสูญเสียวัสดุ เช่น เครื่องมือ OptoAI ของดีลอยท์ คอนซัลติ้ง แอลแอลพี (Deloitte Consulting LLP) ที่ใช้สำหรับการตรวจสอบหลังเกิดภัยพิบัติ สามารถช่วยลดเวลาการซ่อมแซมหลังคาได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง และลดวัสดุส่วนเกินได้ร้อยละ 15-30

แนวทางที่ผู้นำต่างๆ สามารถก้าวข้ามความท้าทายในการนำ AI ไปใช้

AI นับเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเสริมสร้างความทนทานและยืดหยุ่นให้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ดังนั้นผู้นำต่าง ๆ จึงควรทำงานร่วมกันเพื่อกำจัดอุปสรรคต่อการนำ AI ไปใช้ ซึ่งครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานเดิม ช่องว่างด้านกฎระเบียบ และข้อจำกัดทางการเงิน ความร่วมมือระดับโลกระหว่างภาคส่วนต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการนำศักยภาพของ AI ไปปรับใช้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐาน:

·       ผู้กำหนดนโยบายสามารถมีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานที่สอดคล้องกัน: ผู้นำองค์กรภาครัฐสามารถพิจารณามาตรฐานสากลในการนำ AI มาใช้ ซึ่งมีความยืดหยุ่นและอิงตามหลักการ ซึ่งช่วยส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ระว่างภาคส่วน และข้ามพรมแดน

·       ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานควรน้อมรับ AI

เจ้าของและผู้ดำเนินงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรลงทุนในเทคโนโลยีในโครงสร้างพื้นฐานทั้งวงจร อัพเกรดระบบเดิมเพื่อรองรับความเข้ากันได้ และเปิดเผยข้อมูลเพื่อปรับปรุงแบบจำลอง AI

·       ผู้นำด้านการเงินและประกันภัยควรเสริมสร้างความจูงใจการนำไปใช้

ผู้นำด้านประกันภัยควรบูรณาการ AI เข้ากับแบบจำลองการกำหนดราคาและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน รวมถึงสถาบันการเงินสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ปรับให้เหมาะกับโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ AI (เช่น ศูนย์ข้อมูล) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรม

·       บริษัทเทคโนโลยีควรสานต่อการพัฒนานวัตกรรมโซลูชันแบบบูรณาการและคาร์บอนต่ำเพื่อความสามารถในการปรับตัว

ผู้ให้บริการ AI และเทคโนโลยีควรมุ่งเน้นให้บริการของตัวเอง เช่น ดิจิทัลทวินที่ใช้ AI นั้น สามารถสร้างความทนทานและยืดหยุ่นให้โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงควรพัฒนาโซลูชันการคำนวณแบบบูรณาการและคาร์บอนต่ำ เพื่อนำไปสู่การสร้างกระบวนการที่ยั่งยืน ทนทาน และมีความยืดหยุ่นด้านโครงสร้างพื้นฐาน

คอสติ เปอร์ริคอส ลีดเดอร์ ธุรกิจ GenAI ดีลอยท์ โกลบอล กล่าวว่า การประสานงานระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับโลกเพื่อพัฒนาโซลูชัน AI ที่ช่วยส่งเสริมตัวเลือกด้านการปรับตัวนั้น เป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างนวัตกรรม รวมถึงต่อยอดไปสู่การสร้างอนาคตที่ทุกคนมีความสามารถในการฟื้นตัวในการรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ การนำ AI ไปใช้ในวงกว้างและความสามารถ AI ที่ปรับปรุงแล้วนั้น ภายในปี 2593 คาดว่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายรายปีด้านภัยพิบัติโดยตรง ซึ่งอาจสูงถึง 1.15 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอาจลดความสูญเสียที่ด้านภัยพิบัติได้เกือบหนึ่งในสาม ทั้งนี้ รายงานของดีลอยท์ฉบับนี้ แสดงให้เห็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ที่ชัดเจน จากการนำ AI มาใช้ ทั้งนี้ ผู้นำองค์กรควรดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดดิสรัปชันให้น้อยที่สุด


สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถดูรายงานเพิ่มเติมได้ที่: http://www.deloitte.com/global/en/issues/climate/ai-for-infrastructure-resilience.html