ในวันที่บริการดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แค่ “ความสะดวก” ที่ประชาชนคาดหวังอีกต่อไป แต่คือ “ความมั่นใจ” ที่จะยืนยันได้ว่า “เราคือใคร” อย่างปลอดภัย ถูกต้อง และตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นการยื่นภาษี เปิดบัญชีธนาคาร ลงทะเบียนเรียน รับสิทธิสวัสดิการ หรือเข้าถึงบริการของภาครัฐและเอกชน ทุกอย่างล้วนเริ่มต้นจากการพิสูจน์ตัวตนที่เชื่อถือได้
นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ Digital ID หรือ Digital Identity กลายเป็นกุญแจหลักในการขับเคลื่อนประเทศในยุคดิจิทัล เพื่อเร่งผลักดันให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสามารถใช้งานได้จริง และส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA จึงได้ร่วมกับ หน่วยงานราชการ และองค์กรภาคเอกชน เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของประเทศให้เกิดเป็นระบบนิเวศน์ที่รองรับการทำธุรกรรมออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับ Digital ID เพื่อการพิสูจน์และการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ ภายใต้กรอบการดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการณ์ อย่าง “กรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 – 2567)” หรือที่รู้จักกันในชื่อ Digital ID Framework ระยะที่ 1 ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือน “แผนปฏิบัติการ Digital ID ระดับชาติ” ที่บูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ Digital ID ได้ในมาตรฐานเดียวกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความซ้ำซ้อน และความยุ่งยากในการยืนยันตัวตน เพิ่มความปลอดภัย ให้กับธุรกรรมออนไลน์ และที่สำคัญคือ อำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการออนไลน์ได้อย่างมั่นใจ ตลอดระยะเวลา 3 ปีของเฟสแรก ประเทศไทยได้วางรากฐานผลักดันให้ Digital ID เกิดการใช้งานในวงกว้างเป็นผลสำเร็จอย่างไรบ้าง และ Next step ก้าวที่มั่นใจ ก้าวต่อไปของ Digital ID Framework ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2568–2570) จะเป็นอย่างไร ETDA จะสรุปให้เห็นภาพชัดๆ ไปพร้อมกัน
· ถอดความสำเร็จ ‘Digital ID Framework ระยะที่ 1’-เร่งวางรากฐานที่มั่นคง สู่ความพร้อมใช้งาน
หากมองภาพรวมของ Digital
ID Framework ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565–2567)
จะเห็นว่ามีการวางกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนทั้งหมด 8 กลยุทธ์สำคัญ โดยมุ่งให้ประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานรัฐ สามารถใช้ Digital
ID ได้อย่างปลอดภัยและสะดวกมากขึ้น ให้ประชาชนเลือกใช้ Digital ID ที่เหมาะสมกับตนเอง เช่น ThaiD, NDID, เป๋าตัง หรือ Mobile
ID เพื่อเข้าถึงบริการออนไลน์ได้อย่างมั่นใจ ใช้ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทยเป็นฐานหลัก
พร้อมกำหนดให้ ETDA ขับเคลื่อนภาพรวมและวางมาตรฐานกลาง
เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของตน รวมถึง
มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งการพัฒนามาตรฐานบริการภาครัฐ เชื่อมโยงกับภาคเอกชนได้อย่างไร้รอยต่อ
เป็นต้น ภายใต้ Digital ID Framework ระยะที่ 1 ได้สร้างฐานการใช้งาน Digital ID ผ่านบริการภาครัฐและเอกชนหลากหลายบริการ
โดยคนไทยมีการใช้งานและ Digital ID ผ่านแอปพลิเคชันตลอดจนบริการต่างๆ
รวมไม่น้อยกว่า 113 ล้านคน ประกอบด้วย แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”
มีผู้ใช้งานมากถึง 30 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2567), แอปพลิเคชัน “ThaiD” ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
มีผู้ใช้บริการ 21 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มกราคม 2568), แอปพลิเคชัน
“เป๋าตัง” โดยธนาคารกรุงไทย มีผู้ใช้งาน 40 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤษภาคม
2567), แพลตฟอร์ม NDID ซึ่งใช้ในธุรกรรมด้านการเงิน
มีผู้ใช้งาน 22 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567) และบริการ Mobile
ID ที่ใช้ระบุตัวตนผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือ
มีผู้ใช้งานในช่วงทดสอบ 150,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31
สิงหาคม 2567) และคาดว่าในอนาคตจะมียอดการใช้งาน Digital ID เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
มุ่งสู่อนาคต: Digital ID Framework ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2568 – 2570) ยกระดับการเข้าถึงที่ “สะดวก ปลอดภัย และไร้รอยต่อ”
แม้ Digital ID Framework ระยะที่ 1 จะวางรากฐานได้อย่างมั่นคง แต่การจะสร้างสังคมดิจิทัลที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ETDA ในฐานะหน่วยงาน Co-Creation Regulator ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายด้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ที่ร่วมกำหนดนโยบายและผลักดันการดำเนินงานด้าน Digital ID อย่างต่อเนื่อง จึงเดินหน้าสู่ “Digital ID Framework ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2568 – 2570)” โดยมุ่งเป้าหมายที่ชัดเจน คือ การทำให้ Digital ID กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เข้าด้วยกันในระบบนิเวศดิจิทัลที่ปลอดภัย ไร้รอยต่อ และครอบคลุมทุกภาคส่วน รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ภายใต้ 5 เป้าหมายหลักของเฟส 2 ที่ตอบโจทย์อนาคต ไม่ว่าจะเป็น 1) ยกระดับธุรกรรมดิจิทัลให้ใช้งานสะดวกและเข้าถึงง่าย 2) เสริมสร้างให้ธุรกรรมดิจิทัลมั่นคงปลอดภัย มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 3) ส่งเสริมการบูรณาการและการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนและระหว่างประเทศ 4) เพิ่มการใช้งานให้แพร่หลายเป็นวงกว้าง ครอบคลุมทุกภาคส่วน และ 5) สร้างกลไกให้เกิดธรรมาภิบาลในการให้บริการ ผ่านการขับเคลื่อนผ่าน 6 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐด้วย Digital ID ได้อย่างสะดวกและครอบคลุม ที่เน้นผลักดันให้ประชาชนสามารถใช้ Digital ID เข้าถึงบริการทั้งจากภาครัฐและเอกชนได้มากขึ้น โดยขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมถึงนิติบุคคล คนต่างด้าว และกลุ่มเปราะบาง
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างความเชื่อมั่นในการใช้
Digital
ID เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและการฉ้อโกง มุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน
ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รู้เท่าทันมิจฉาชีพ
รู้จักตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างรอบคอบก่อนติดตั้งแอปพลิเคชัน หรือ สแกน QR
code หรือ คลิกลิงก์ ที่อาจเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง
กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการใช้ Digital
ID ในการทำธุรกรรมนิติบุคคล ผลักดันให้เกิดระบบรองรับธุรกรรมนิติบุคคลด้วย
Digital
ID ที่เชื่อถือได้ เช่น ระบบกลางสำหรับการมอบอำนาจ
เพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถตรวจสอบอำนาจของผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลได้อย่างมั่นใจ
กลยุทธ์ที่ 4 สนับสนุนการใช้ Digital
ID เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาคส่วน วางมาตรฐานและสร้างระบบนิเวศในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาคธุรกิจและภาครัฐ
ทั้งในรูปแบบ B2B, B2G และ G2G ให้มีความปลอดภัยและสอดคล้องกับโมเดลทางธุรกิจ
กลยุทธ์ที่ 5
ผลักดันโครงสร้างพื้นฐานในการพิสูจน์ตัวตนของคนต่างด้าว ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อพัฒนากลไกการพิสูจน์ตัวตนของคนต่างด้าว
โดยนำข้อมูลการเข้า–ออกประเทศมาใช้ในการอ้างอิงเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ
ได้อย่างมั่นใจ
กลยุทธ์ที่ 6
พัฒนากลไกติดตามและประเมินความเสี่ยงของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ Digital
ID เพื่อสร้างความมั่นใจว่าระบบ
Digital
ID ที่ใช้อยู่จะมีความปลอดภัยสูงสุด
ทั้งในมุมของผู้ให้บริการและผู้ใช้งาน
โดยเฉพาะในยุคที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทวีความซับซ้อนมากขึ้น
เป้าหมายปี 2570:
ประชาชนมั่นใจ ธุรกิจขยายตัว สังคมดิจิทัลก้าวไกล
ภายในปี 2570 คาดว่าประชาชน นิติบุคคล
และคนต่างด้าว จะสามารถใช้ Digital ID เพื่อเข้าถึงบริการ
e-Service ได้อย่างทั่วถึง
โดยประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐไม่ต่ำกว่า 1,000
รายการ และมีการนำร่องให้กลุ่มนิติบุคคลและคนต่างด้าวสามารถใช้บริการได้อย่างน้อย
8 กลุ่มภาคบริการ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถใช้
เอกสารรับรองดิจิทัล เอกสารสำแดงดิจิทัล และกระเป๋าเอกสารดิจิทัล (Document
Wallet) แทนเอกสารกระดาษในการทำธุรกรรม ซึ่งมีเป้าหมายรายปี ดังนี้
ปี
2568-เร่งเริ่มต้นระบบใหม่
วางรากฐานเชิงเทคนิคและเชิงนโยบาย เช่น
· ประชาชนเข้าถึง
Digital
ID ได้สะดวกขึ้น ด้วยการใช้ระบบพิสูจน์ตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล (Face
Verification Service) ของกรมการปกครอง
· มีกลไกสนับสนุนการของบประมาณเพื่อเชื่อม
Digital
ID กับบริการ e-Service
· มีโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของนิติบุคคล
นำร่องในกลุ่มงานบริการภาคการเงินในบริการการเปิดบัญชี การขอสินเชื่อ
· นักธุรกิจและนักลงทุนต่างชาติสามารถ
ใช้ Digital
ID ในการเข้าถึงบริการ e-Service
· มีกรอบแนวทางการสร้างความน่าเชื่อถือของระบบนิเวศเอกสารรับรองสำหรับ
Document
Wallet (Trust Model Framework)
· มีพื้นที่ทดสอบการใช้งานระบบนิเวศของเอกสารรับรองดิจิทัลและกระเป๋าเอกสารดิจิทัล
(Document
Wallet Ecosystem) ของงานบริการภาครัฐ และภาคเอกชน
· ประชาชนใช้
Digital
ID เพื่อลดปัญหาการปลอมแปลงตัวตนและการฉ้อโกง (Fraud) ของหน่วยงานภาคการเงิน การธนาคาร
ปี
2569-เดินหน้าขยายการเข้าถึง
และเริ่มใช้จริงในหลายบริบท เช่น
· กลุ่มเปราะบาง
เช่น ผู้เยาว์และผู้สูงอายุ สามารถใช้ Digital ID เพื่อเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้
· ขยายผลการทำธุรกรรมของนิติบุคคลไปยังกลุ่มงานบริการภาครัฐ
· นักท่องเที่ยวและแรงงานต่างด้าว
สามารถใช้ Digital ID เข้าถึง e-Service
· ประชาชนเริ่มมีการใช้งานเอกสารรับรองดิจิทัลและเอกสารสำแดงดิจิทัล
· เอกชนให้บริการกระเป๋าดิจิทัลสำหรับเอกสารรับรอง
(Document
Wallet) โดยนำร่องจากเอกสารทางการศึกษา ทะเบียนราษฎร
เพื่อสร้างความสะดวกและความน่าเชื่อถือในการสมัครงาน
รวมถึงการสมัครเรียนแบบข้ามพรมแดน (Cross Border) กับประเทศ ASEAN
· ประชาชนใช้
Digital
ID ในการเข้าใช้บริการแพลตฟอร์ดิจิทัล
ลดปัญหาการปลอมแปลงตัวตนและการฉ้อโกง (Fraud) กลุ่มบริการ Online
Market Place, Social Commerce, Social Media, Ride Sharing
ปี
2570-บรรลุเป้าหมายสำคัญ
สร้างผลลัพธ์เชิงระบบในระดับประเทศ เช่น
· ประชาชนใช้
Digital
ID เพื่อเข้าถึงบริการ e-Service ภาครัฐได้ไม่น้อยกว่า
1,000 บริการ e-Service
· ขยายผลการทำธุรกรรมของนิติบุคคล
ไปยังกลุ่มงานบริการภาคการค้า
· นักศึกษา
คนต่างด้าวที่อยู่ในไทยระยะยาว สามารถใช้ Digital ID ในการทำ e-Service
· หน่วยงานภาครัฐให้บริการกระเป๋าเอกสารดิจิทัลเพื่อรองรับการใช้งานเอกสารรับรองดิจิทัล
เอกสารสำแดง – เอกสารที่ราชการออกให้กับประชาชน
· ประชาชนใช้ Digital ID ในการเข้าใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ลดปัญหาการปลอมแปลงตัวตนและการฉ้อโกง (Fraud) (ขยายผล)
Digital
ID ไม่ใช่เพียงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ แต่คือรากฐานของ
“ความมั่นใจ” ที่เราทุกคนจะสามารถใช้ยืนยันตัวตนได้อย่างปลอดภัย เท่าเทียม
และไร้รอยต่อ เพื่อเข้าถึงบริการดิจิทัลที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
ทั้งในวันนี้และอนาคต ETDA เชื่อมั่นว่า
ความเชื่อใจคือทุนที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัล และการสร้างระบบ
Digital ID ที่เข้าถึงได้จริง ใช้งานได้จริง
และร่วมสร้างได้จริงจากทุกภาคส่วน
จะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเดินหน้าอย่างมั่นคง เรากำลังสร้างสังคมที่ไม่ต้องรอให้ใครตามทัน
แต่เป็นสังคมที่ "ทุกคนก้าวไปด้วยกัน"- ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เพจ ETDA Thailand