29 เม.ย. 2568 234 0

AWS Summit Bangkok 2025 เผยเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุด ขับเคลื่อนโลกดิจิทัลไทย ครบทั้งคลาวด์, Gen AI พร้อมวางรากฐานบุคลากร Tech

AWS Summit Bangkok 2025 เผยเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุด ขับเคลื่อนโลกดิจิทัลไทย ครบทั้งคลาวด์, Gen AI พร้อมวางรากฐานบุคลากร Tech


AWS Summit นำเสนอนวัตกรรมใหม่จาก AWS ที่องค์กรชั้นนำในประเทศที่นำมาประยุกต์ใช้ โดยเทคโนโลยีพิเศษที่เทคโนโลยี Generative AI และการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว นอกจากนี้ในงานดังกล่าว ยังประกอบไปด้วย

  • ปาฐกถาพิเศษจากผู้บริหารระดับสูงของ AWS นำโดย Vasi Philomin ( วาซีฟิโลมิน ) การ จัดการฝ่ายต่างๆ Generative AI
  • การศึกษาความสำเร็จจากองค์กรชั้นนำของไทย ได้แก่ LINE MAN Wongnai และ CP Group
  • เวทีพบปะสังสรรค์แบบเอ็กซ์คลูซีฟ
  • การสาธิตอย่างต่อเนื่อง AWS แบบ Interactive รวมถึง AWS Generative AI GameDay และการแข่งขัน AWS Generative AI Hackathon กับ Amazon Q Apps Creator




กรุงศรีเร่งพัฒนาระบบคลาวด์ เพิ่มประสิทธิภาพการย้ายระบบเร็วขึ้นกว่า 50% พร้อมต่อยอดนวัตกรรม Generative AI ด้วย AWS 


ยกระดับประสบการณ์ลูกค้าด้วยระบบ AI ครอบคลุมการตรวจจับบัญชีม้า ประเมินมูลค่าอสังหาฯ และบริหารจัดการเงินสดที่เครื่อง ATM

อะเมซอน เว็บเซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) เผยว่าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กลุ่มธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าในระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุม 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถลดระยะเวลาการย้ายระบบสู่คลาวด์ได้มากกว่าครึ่ง ด้วยการประยุกต์ใช้ Generative AI เอเจนต์ การใช้บริการคลาวด์ชั้นนำระดับโลกนี้เป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้าน AI ของธนาคาร ครอบคลุมทั้งการตรวจจับบัญชีม้า การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ และการบริหารจัดการเงินสดสำหรับเครือข่าย ATM กว่า 5,000 เครื่องทั่วประเทศ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการทางการเงินของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยจากอาชญากรรมทางการเงิน

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย้ายดาต้าแพลตฟอร์ม ซึ่งประกอบด้วยคลังข้อมูลและโมเดลแมชชีนเลิร์นนิง จากระบบภายในองค์กร (on-premise) สู่ระบบคลาวด์ได้เร็วขึ้น กรุงศรีได้พัฒนา Generative AI เอเจนต์ (Generative AI Agent) แบบเฉพาะทางผ่าน Amazon Bedrock โดยเอเจนต์เหล่านี้ทำงานร่วมกับบริการต่าง ๆ ของ AWS อาทิ Amazon SageMaker, AWS Lambda และ Amazon EventBridge ซึ่งสามารถแปลงโค้ดโปรแกรมจากระบบภายในองค์กรสู่ระบบคลาวด์ได้โดยอัตโนมัติ ส่งผลให้ลดระยะเวลาในการย้ายระบบลงได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับการแปลงโค้ดด้วยวิธีการแบบเดิม

ด้วยความสามารถในการนำ AI เอเจนต์มาใช้ซ้ำได้ ทำให้กรุงศรีสามารถต่อยอดการใช้งานเทคโนโลยี Generative AI ทั้งสำหรับการย้ายระบบในอนาคตและการแปลงข้อมูลรูปแบบอื่น ๆ ส่งผลให้ธนาคารสามารถขยายขีดความสามารถในการดำเนินงาน เพิ่มความคล่องตัว และผสานการทำงานกับบริการบนระบบคลาวด์แบบเนทีฟ (cloud-native services) อย่างเช่น การย้ายโมเดล (machine learning model) ที่จากแพลตฟอร์มเดิมไปยัง AWS SageMaker ได้อย่างไร้รอยต่อ นอกจากนี้ การพัฒนาสินทรัพย์ด้าน AI ที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ อาทิ อัลกอริธึมสำหรับการแปลงระบบ โมเดลที่ผ่านการฝึกฝน และระบบอัตโนมัติต่างๆ ยังช่วยให้กรุงศรีสามารถแปลงโค้ดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกโครงการ ซึ่งรวมถึงการย้ายโค้ดอื่น ๆ เช่น สคริปต์หรือกระบวนการ ETL คลังข้อมูล และดาต้ามาร์ทสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ด้าน AI ระยะยาวของธนาคารที่มุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงแค่การย้ายระบบสู่คลาวด์เท่านั้น

การเร่งพัฒนาระบบคลาวด์ของกรุงศรีช่วยเสริมความพร้อมในการรับมือกับกฎระเบียบใหม่ของไทยที่ประกาศใช้ในปีนี้ เกี่ยวกับการป้องกันการใช้บัญชีม้า (บัญชีที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี เช่น การฟอกเงิน การฉ้อโกง และการโอนเงินผิดกฎหมาย) ด้วยการใช้ Amazon SageMaker ธนาคารสามารถยกระดับการตรวจจับบัญชีที่มีความเสี่ยง จากเดิมที่ต้องรอข้อมูลจากภายนอก มาเป็นระบบตรวจจับอัตโนมัติเชิงรุกที่มีความแม่นยำสูงและลดการแจ้งเตือนที่ผิดพลาด (false positives) นอกจากนี้ การใช้ AWS ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการข้อมูล การใช้เครื่องมือ และความสามารถในการรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สามารถปกป้องลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งลดผลกระทบต่อผู้ใช้บัญชีที่ถูกกฎหมาย

กรุงศรีกำลังนำระบบ AI อื่นๆ ของ AWS มาใช้เพิ่มเติมในอีกหลายๆ ส่วน เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนาระบบประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์โดยใช้โมเดลการคาดการณ์จาก Amazon SageMaker สำหรับการทบทวนสินทรัพย์ประจำปี โดยนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา การใช้โมเดล AI นี้ช่วยลดปริมาณในการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่เพื่อประเมินอสังหาริมทรัพย์ไปได้กว่า 2,000 ครั้ง ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ราวกว่า 5 ล้านบาท และลดระยะเวลาในการประเมินมูลค่าอสังหาฯ จากเดิม 3 วัน เหลือเพียง 15 นาทีต่อเคส นอกจากนี้ กรุงศรียังใช้ Amazon SageMaker ในการปรับปรุงระบบเติมเงินที่เครื่อง ATM และบริการรถขนเงินทั่วประเทศไทย ด้วยการรวมโมเดลแมชชีนเลิร์นนิง จากเดิม 6,000 โมเดล เหลือเพียง 3 โมเดล ซึ่งโมเดลเหล่านี้สามารถคาดการณ์และจัดการความต้องการใช้เงินสดได้แม่นยำมากขึ้น ทำให้เครื่องของกรุงศรี ATM พร้อมให้บริการลูกค้าอยู่เสมอ รวมทั้งสามารถบริหารจัดการการกระจายเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างพึงพอใจให้กับลูกค้าที่ใช้บริการของกรุงศรีได้มากยิ่งขึ้น


ตุลย์ โรจน์เสรี ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ระดับองค์กร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กรุงศรีไม่เพียงนำระบบขึ้นคลาวด์ แต่เรากำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจด้วยเทคโนโลยี AI ผ่านการใช้ Generative AI และแมชชีนเลิร์นนิงบน AWS ซึ่งช่วยให้เราลดระยะเวลาการย้ายระบบขึ้นคลาวด์ได้มากถึงครึ่งหนึ่ง พร้อมทั้งพัฒนาระบบทั้งหมดให้ทำงานบนคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การตรวจจับการทุจริตมีความแม่นยำมากขึ้น การดำเนินงานรวดเร็วขึ้น และมอบบริการที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า ด้วยความร่วมมือกับ AWS เรากำลังสร้างสรรค์อนาคตของการธนาคารผ่านนวัตกรรมที่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง”


วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ของ AWS ประเทศไทย กล่าวว่า “กรุงศรีกำลังก้าวนำในการให้บริการธนาคารยุคใหม่ ด้วยการนำ AI และเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้เพื่อปกป้องลูกค้าและยกระดับบริการทางการเงินให้ชาญฉลาดยิ่งขึ้น การที่กรุงศรีเลือกใช้บริการของ AWS ทั้งด้าน Generative AI แมชชีนเลิร์นนิง และระบบคลาวด์ที่ปรับขนาดการใช้งานได้ตามความต้องการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการฉ้อโกง ยกระดับการดำเนินงาน และสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการธนาคารในประเทศไทย เรารู้สึกภูมิใจที่ได้ร่วมสนับสนุนกรุงศรีในการสร้างอนาคตที่มั่นคง มีประสิทธิภาพ และขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อลูกค้าของธนาคาร”


AWS เปิดตัว “Skills to Jobs Tech Alliance Thailand” เพื่อยกระดับศักยภาพบุคลากรดิจิทัลรุ่นใหม่ของไทย


โดย แดนนี่ เชน, นุ่น รัชวรรณ และ วาเลอรี่ เลียง 

Amazon Web Services (AWS) ประกาศเปิดตัวโครงการ Skills to Jobs Tech Alliance ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีและทักษะด้านคลาวด์ สนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเปลี่ยนผ่านดิจิทัล ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2560 AWS ได้ฝึกอบรมบุคลากรในประเทศไทยด้านทักษะคลาวด์ไปแล้วกว่า 50,000 คน

จากรายงาน Future of Jobs ปี 2568 โดย World Economic Forum คาดการณ์ว่าช่องว่างด้านทักษะในตลาดแรงงานจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ โดยผู้ประกอบการถึง 63% ระบุถึงความกังวลในประเด็นนี้ ด้วยเหตุนี้ Tech Alliance Thailand จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ อาทิ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีไซเบอร์ (CIPAT) เพื่อยกระดับการศึกษาด้านเทคโนโลยีและเชื่อมโยงผู้เรียนกับตำแหน่งงานด้านเทคโนโลยีที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานทั่วประเทศ

AWS ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เชื่อมโยงทักษะสู่การจ้างงาน ผ่านโครงการ Tech Alliance AWS สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาไทยปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย โดยใช้แผนที่ทักษะ (Skill maps) ที่ผ่านการรับรองจากภาคอุตสาหกรรม ครอบคลุมด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาสู่สายงานเทคโนโลยีที่เป็นที่ต้องการ

AWS จะร่วมงานกับกระทรวง อว. โดยให้ข้อมูลเชิงลึกด้านทักษะที่ผ่านการรับรองจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนโครงการระดับประเทศในการพัฒนาเส้นทางทักษะที่ครอบคลุม แนวทางนี้จะช่วยให้สถาบันการศึกษาไทยสามารถปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของภาคเทคโนโลยี โดยได้รับการสนับสนุนจาก Pearson ที่จะนำความเชี่ยวชาญระดับโลกด้านเนื้อหาการศึกษา การประเมินผล คุณวุฒิ และการเรียนรู้ระดับองค์กรมาสู่สถาบันที่เข้าร่วม Tech Alliance ในภูมิภาค

ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “ความร่วมมือกับ AWS Tech Alliance ถือเป็นก้าวสำคัญของระบบการศึกษาของประเทศ แผนที่ทักษะของ AWS จะเสริมกรอบการทำงานระดับชาติที่มีอยู่ และให้มุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับทักษะดิจิทัลที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ความร่วมมือนี้มุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมโยงที่มีความหมายระหว่างนักศึกษาและผู้ประกอบการผ่านประสบการณ์การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เพื่อเพิ่มโอกาสการจ้างงานบัณฑิตและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางบุคลากรด้านดิจิทัล”

สถาบันการศึกษาชั้นนำหลายแห่ง อาทิ สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย CMKL มหาวิทยาลัยขอนแก่น,  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี , มหาวิทยาลัยมหิดล คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มหาวิทยาลัยรังสิต  และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะร่วมงานกับ AWS ในการผนวกหลักสูตรการประมวลผลคลาวด์ที่สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม และจัดการฝึกอบรมภาคปฏิบัติด้านเทคนิคให้แก่นักศึกษา

ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า “การเป็นสมาชิก AWS Academy ทำให้เราสามารถเข้าถึงสื่อการสอนด้านคลาวด์คอมพิวติ้งที่มีคุณค่า และด้วยการเปิดตัว Tech Alliance Thailand ดิฉันมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมงานกับ AWS และผู้ประกอบการในไทย เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประยุกต์และกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน ดิฉันเชื่อว่านักศึกษาจะมีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้นผ่านกิจกรรมเหล่านี้”


Tech Alliance ยังได้รวบรวมองค์กรธุรกิจชั้นนำของไทยที่มุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีในประเทศ ได้แก่ Ascend Money, AXONS, BBTV New Media Co., Ltd., Bitkub, eCloudValley, Gosoft Thailand Co.Ltd, LINE MAN Wongnai, NTT DATA Thailand, PTT GC, SiS Distribution (Thailand) Public Company Limited และ Wisesight ผู้ประกอบการเหล่านี้จะให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับแผนที่ทักษะและความต้องการการจ้างงาน และจะมีส่วนร่วมกับนักศึกษาโดยตรงผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประยุกต์ต่าง ๆ ได้แก่

  • Tech talks: การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรม เน้นเรื่องเทคโนโลยีคลาวด์ แนวโน้มอุตสาหกรรม และทักษะวิชาชีพ ช่วยให้ผู้ประกอบการได้นำเสนอแบรนด์ โอกาสการจ้างงาน และความรู้ทางเทคนิค

กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน: ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมกับบุคลากรด้านเทคโนโลยีระดับเริ่มต้นผ่านการฝึกงาน การให้คำปรึกษา การให้ข้อมูลป้อนกลับด้านการจ้างงานเชิงเทคนิค และงานแนะนำอาชีพและการจ้างงาน เพื่อช่วยพัฒนาทักษะวิชาชีพและทักษะทางเทคนิค

  • กิจกรรมพัฒนาทักษะทางเทคนิค: ผู้ประกอบการสามารถประเมินทักษะของผู้สมัครที่มีศักยภาพผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ การแข่งขันแฮกกาธอน และการแข่งขันทักษะด้านคลาวด์


นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ Tech Alliance จะได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประยุกต์ที่อ้างอิงจากกรณีศึกษาจริงในภาคอุตสาหกรรม พัฒนาทักษะทางเทคนิคที่เป็นที่ต้องการ และเชื่อมต่อโดยตรงกับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการจ้างงาน

โครงการนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ AWS กำลังเพิ่มการลงทุนเพื่ออนาคตดิจิทัลของประเทศไทย ผ่านการเปิดตัว AWS Asia Pacific (Thailand) Region ซึ่ง AWS ได้ลงทุนมากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าการลงทุนนี้จะสร้างมูลค่าให้กับ GDP ของประเทศไทยมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และสนับสนุนการจ้างงานเทียบเท่าพนักงานประจำกว่า 11,000 ตำแหน่งต่อปี ผ่านธุรกิจในท้องถิ่นที่ได้รับการสนับสนุนจาก AWS Asia Pacific (Thailand) Region

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ของ AWS ประเทศไทย กล่าวว่า “การเปิดตัว AWS Tech Alliance Thailand แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นระยะยาวของเราในการพัฒนาทักษะด้านคลาวด์และสร้างโอกาสให้กับคนไทย การผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม จะช่วยสร้างแหล่งบุคลากรด้านเทคโนโลยีที่ยั่งยืนเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยที่กำลังเติบโต”

โครงการด้านการศึกษาของ AWS (AWS Academy, AWS Educate และ AWS re/Start) และ AWS Skill Builder ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย นำเสนอหลักสูตรฝึกอบรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานการรับรองของ AWS โดยประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ ดังนี้

·        AWS Academy มอบหลักสูตรด้านคลาวด์ที่ครบครันให้แก่สถาบันอุดมศึกษา มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมนักศึกษาสำหรับการรับรองของ AWS ที่เป็นที่ยอมรับในระดับอุตสาหกรรม และเตรียมพร้อมสำหรับตำแหน่งงานที่มีความต้องการสูงในตลาด หลักสูตรนี้ยังช่วยให้ผู้สอนก้าวทันนวัตกรรมคลาวด์ของ AWS เพื่อถ่ายทอดทักษะที่จำเป็นแก่นักศึกษาสำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูง

·        AWS Educate นำเสนอหลักสูตรฝึกอบรมหลายร้อยชั่วโมงสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้เทคโนโลยีคลาวด์ ด้วยระบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นตามความสะดวกของผู้เรียน ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถค้นหาโอกาสการทำงานผ่านระบบ AWS Educate Job Board และได้รับการรับรองในรูปแบบดิจิทัลแบดจ์ ทั้งนี้ สามารถเริ่มต้นใช้งาน AWS Educate ได้ง่าย ๆ เพียงลงทะเบียนด้วยอีเมล

·        AWS re/Start เป็นหลักสูตรฝึกอบรมแบบเต็มเวลา ที่มุ่งเตรียมความพร้อมให้ผู้เข้าร่วมโครงการสู่การประกอบอาชีพด้านคลาวด์คอมพิวติ้งในระดับเริ่มต้น หลักสูตรระยะเวลา 12 สัปดาห์นี้ ครอบคลุมทักษะพื้นฐานด้าน AWS Cloud ทักษะด้าน IT ภาคปฏิบัติ และการพัฒนาทักษะวิชาชีพ รวมถึงการเขียนประวัติย่อและการเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน เมื่อจบหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับการเชื่อมต่อกับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพผ่านเครือข่ายพันธมิตรของ AWS และได้รับการเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบรับรอง AWS Certified Cloud Practitioner

·        AWS Skill Builder เป็นศูนย์การเรียนรู้ออนไลน์ที่รวบรวมหลักสูตรฟรีมากกว่า 600 หลักสูตร ครอบคลุมทั้งการฝึกอบรมตามบทบาทการทำงาน และแผนการเรียนรู้เฉพาะทางตามความเชี่ยวชาญ ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่าง ๆ ที่ต้องการ เช่น ผู้ปฏิบัติงานด้านคลาวด์ นักพัฒนา และสถาปนิกโซลูชัน

สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมหรือต้องการเข้าร่วมหรือสนับสนุน Tech Alliance สามารถเยี่ยมชมได้ที่ AWS Skills to Jobs Tech Alliance

AWS Generative AI ขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยเปิดตัวแพลตฟอร์ม Generative AI แห่งแรกในวงการการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการเรียนรู้ให้แก่บุคลากรและนักศึกษากว่า 52,000 คน

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com ประกาศความสำเร็จของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) สถาบันการศึกษาและวิจัยชั้นนำของประเทศไทย ในการพัฒนา ChatGen  ละ Matthew แพลตฟอร์ม Generative AI แห่งแรกในวงการการศึกษาบนระบบคลาวด์ชั้นนำระดับโลก Matthew มอบความสามารถด้าน Generative AI ให้แก่บุคลากรและนักศึกษากว่า 52,000 คน โดยสามารถใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ ได้อย่างครบครัน ทั้งการตอบคำถามพร้อมการอ้างอิง การสรุปเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลและรูปภาพ การสร้างเอกสาร ตลอดจนการแปลภาษา โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย AI” ด้วยการนำเทคโนโลยี AI ขั้นสูงมาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับการเรียนการสอน การวิจัย และการดำเนินงานในทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัย

การผลักดันให้เกิดการเข้าถึง AI อย่างทั่วถึงครั้งนี้ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ร้อยละ 86 ของนักศึกษายอมรับว่าใช้ AI ในการเรียน โดยร้อยละ 54 ของนักศึกษาใช้งาน AI เป็นประจำทุกสัปดาห์ ด้วยเหตุนี้ มช. จึงเล็งเห็นความสำคัญในการกำหนดแนวทางการใช้งานที่ได้มาตรฐานและมีจริยธรรม เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยี AI อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งสร้างโอกาสการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม โดยเปิดให้ทุกคนสามารถใช้เครื่องมือ AI และ Generative AI ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

การประยุกต์ใช้บริการ AI จาก AWS เพื่อความเป็นเลิศทางการศึกษา

มช. มุ่งพัฒนาระบบผู้ช่วยอัจฉริยะ (Generative AI Assistant) เพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรมสำหรับบุคลากรและนักศึกษา โดยได้เลือกใช้แพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นและขยายขนาดได้ตามความต้องการ พร้อมทั้งรวมเทคโนโลยีโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) เทคโนโลยี และบริการล่าสุดเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยยังได้นำเทคโนโลยี RAG (Retrieval-Augmented Generation) ที่ขับเคลื่อนโดย AWS มาใช้งาน โดยเทคโนโลยีนี้ผสานการทำงานของโมเดล AI หลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างคำตอบที่สอดคล้องกับบริบทโดยอ้างอิงจากฐานข้อมูลและเอกสารของมหาวิทยาลัย

ChatGen ได้ผสานการทำงานร่วมกับ Amazon Nova เพื่อรองรับฟังก์ชันการสนทนาอัจฉริยะและระบบให้คำแนะนำอัตโนมัติ เช่น การแนะนำวิชาเรียนที่เหมาะสมสำหรับการลงทะเบียน ระบบนี้สามารถเชื่อมต่อกับโมเดล AI พื้นฐานได้หลากหลายผ่าน Amazon Bedrock ไม่ว่าจะเป็น Claude, Llama หรือ Mistral นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับระบบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้อย่างไร้รอยต่อ โดยเฉพาะการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลหลักผ่านแพลตฟอร์มการเชื่อมต่อแบบหลากหลาย (Multi Connectivity Platform: MCP) ทั้งนี้ ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบได้ง่าย ๆ ด้วยบัญชี CMU IT ที่มีอยู่ และใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเว็บเบราว์เซอร์บนอุปกรณ์ทุกประเภท

ยกตัวอย่างเช่น มช. ได้พัฒนาระบบ Student Compass AI โดยใช้เทคโนโลยี ChatGen เพื่อเป็นผู้ช่วยอัจฉริยะในการวางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับเส้นทางอาชีพของนักศึกษา ระบบนี้ไม่เพียงแต่ให้คำแนะนำในการเลือกรายวิชา การจัดตารางเรียน และการติดตามความก้าวหน้าของหลักสูตรเท่านั้น แต่ยังช่วยวิเคราะห์และวางแผนเส้นทางอาชีพผ่านการประเมินทักษะที่จำเป็น การวิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรม และการแนะนำโอกาสที่เหมาะสม ด้วยความสามารถของระบบ นักศึกษาสามารถออกแบบแผนการเรียนรู้เฉพาะบุคคลได้อย่างครบวงจร ทั้งการกำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว การวางแผนการฝึกงาน การพัฒนากลยุทธ์การสร้างเครือข่ายวิชาชีพ ตลอดจนการเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน Student Compass ยังช่วยจัดการเวลาและติดตามพัฒนาการของนักศึกษา โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความสำเร็จทางการศึกษาในปัจจุบันและเป้าหมายทางอาชีพในอนาคต ทำให้นักศึกษาสามารถตัดสินใจวางแผนอนาคตได้อย่างชาญฉลาดและมั่นใจ ทั้งนี้ มช. ยังได้นำ ChatGen ไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น การสรุปรายงานการประชุม การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร และระบบตอบคำถามอัตโนมัติเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ ขององค์กร โดยทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจาก AWS ที่มอบทั้งความปลอดภัยและความยืดหยุ่นในการใช้งาน AI อย่างมีประสิทธิภาพ

ChatGen เป็นเพียงส่วนหนึ่งในระบบนิเวศทางเทคโนโลยี AI ที่ มช. พัฒนาขึ้นอย่างครบวงจร โดยทำงานประสานกับระบบ Matthew ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยเฉพาะ ด้วยการพัฒนาบน AWS เช่นเดียวกัน Matthew ได้เปิดโอกาสให้คณาจารย์สามารถสร้างผู้ช่วยอัจฉริยะที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับแต่ละรายวิชา ปัจจุบัน มีการสร้างผู้ช่วยอัจฉริยะแล้วมากกว่า 1,000 รูปแบบ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาในหลากหลายด้าน ทั้งการเตรียมเนื้อหาการเรียน การพัฒนาระบบติวเตอร์อัจฉริยะ ตลอดจนการเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการใช้งาน AI อย่างการเขียนคำสั่ง (Prompt Engineering)

การใช้ AI อย่างมีจริยธรรม

มช. ได้วางแนวทางที่ชัดเจนในการใช้ Generative AI พร้อมทั้งนำระบบตรวจสอบการคัดลอกผลงานมาใช้ในการตรวจสอบชิ้นงานของนักศึกษา เพื่อให้มั่นใจว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นไปตามกรอบจริยธรรมของมหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากบริการของ AWS ผ่านการใช้ Amazon Bedrock Guardrails ที่ช่วยควบคุมการใช้ AI อย่างปลอดภัย และ Amazon Simple Storage Service (Amazon S3) ที่ให้บริการจัดเก็บฐานข้อมูลความรู้ขนาดใหญ่ของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาย รังสิยากูล ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเมืองเพื่อความยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “การก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัย AI ไม่ใช่เพียงแค่การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ แต่เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการสอน การวิจัย และการทำงานของเราใหม่ทั้งหมด ด้วยบริการ Generative AI จาก AWS ทั้ง Amazon Bedrock และ Amazon Nova ทำให้เราสามารถพัฒนาเครื่องมืออย่าง ChatGen และ Matthew เพื่อให้นักศึกษาทุกคนเข้าถึง AI ได้ โดยยังคงรักษาคุณค่าทางวิชาการและจริยธรรมไว้อย่างครบถ้วน”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนาทิพย์ จันทร์คง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า “Matthew ได้เปลี่ยนวิธีการสอนการใช้งาน AI ของอ. ไปอย่างสิ้นเชิง อ.สามารถพัฒนาผู้ช่วยอัจฉริยะที่ชื่อ Kathi ขึ้นมาเพื่อช่วยแนะนำนักศึกษาจากทุกคณะในการเขียนคำสั่งที่เหมาะสมกับศาสตร์ในแต่ละสาขา โดย Kathi จะวิเคราะห์และให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษา ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมากจากนักศึกษา เพราะระบบช่วยสอนแบบเป็นขั้นตอนนี้ช่วยให้พวกเขามั่นใจในการใช้ AI เป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้มากขึ้น”


อีริค คอนราด (Eric Conrad) กรรมการผู้จัดการด้านภาครัฐระดับภูมิภาคอาเซียนของ AWS กล่าวว่า “เทคโนโลยี AI กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวงการการศึกษา และสถาบันการศึกษาที่พร้อมรับและปรับตัวอย่างชาญฉลาดจะเป็นผู้กำหนดทิศทางการเรียนรู้ในอนาคต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถือเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่นำบริการ AI อันทรงประสิทธิภาพของ AWS มาประยุกต์ใช้ เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษาและคณาจารย์สามารถใช้ประโยชน์จาก AI สร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ การนำ Amazon Bedrock และ ChatGen มาใช้ไม่เพียงทำให้เทคโนโลยี AI เป็นเครื่องมือที่ทุกคนเข้าถึงได้ แต่ยังวางรากฐานการใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบ สร้างแบบอย่างที่ดีให้กับสถาบันการศึกษาทั่วโลก”

 

เกี่ยวกับอะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) ได้เป็นผู้นำด้านบริการคลาวด์ที่ครอบคลุมและได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก AWS พัฒนาบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการทำงานทุกรูปแบบ ปัจจุบันมีบริการมากกว่า 240 ประเภท ครอบคลุมด้านต่าง ๆ เช่น การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย การวิเคราะห์ข้อมูล แมชชีนเลิร์นนิง และปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) เทคโนโลยีมือถือ ความปลอดภัย ระบบไฮบริด สื่อ รวมถึงการพัฒนา การใช้งาน และการจัดการแอปพลิเคชันต่าง ๆ AWS มี Availability Zones 114 แห่งใน 36 AWS Regions ทั่วโลก และมีแผนขยายเพิ่มอีก 12 Availability Zones และ 4 AWS Regions เพิ่มเติมใน นิวซีแลนด์ ซาอุดีอาระเบีย ไต้หวัน และ AWS European Sovereign Cloud ลูกค้านับล้านรายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพที่เติบโตอย่างรวดเร็ว องค์กรขนาดใหญ่ และหน่วยงานภาครัฐ ต่างเชื่อมั่นใน AWS ในการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขาให้มีความคล่องตัวมากขึ้นและมีต้นทุนที่น้อยลง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AWS สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ aws.amazon.com