24 เม.ย. 2568 376 0

Lightnet - WeLab เผยวิสัยทัศน์ธนาคารดิจิทัลของไทย ในงาน Money 20/20 Asia 2025 นำเสนอลดช่องว่างเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านดิจิทัลแบงก์กิ้ง

Lightnet - WeLab เผยวิสัยทัศน์ธนาคารดิจิทัลของไทย ในงาน Money 20/20 Asia 2025 นำเสนอลดช่องว่างเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านดิจิทัลแบงก์กิ้ง


ไซมอน หลุง (ขวา) ผู้ก่อตั้งและ Group CEO ของ WeLab


Lightnet-WeLab กลุ่มผู้ขอใบอนุญาตให้บริการ Virtual Bank ในประเทศไทย เข้าร่วมงาน Money 20/20 Asia ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาของมหกรรมด้านฟินเทคชั้นนำของโลก โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายในงาน ผู้บริหารสองท่านของกลุ่ม อันได้แก่ ไซมอน หลุง ผู้ก่อตั้งและ Group CEO ของ WeLab และ ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม ประธานบริษัท ไลท์เน็ท กรุ๊ป (Lightnet Group) และที่ปรึกษาอาวุโสกลุ่มทุน Lightnet-WeLab ได้รับเกียรติเป็นผู้บรรยายภายในงานและร่วมแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลแบงก์กิ้งในประเทศไทยและการสร้างภูมิทัศน์ทางการเงินใหม่ผ่าน Virtual Bank

การเข้าร่วมงานของกลุ่ม Lightnet-WeLab เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญของอุตสาหกรรมธนาคารไทย ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมประกาศรายชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการ Virtual Bank ในประเทศไทยภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ ทั้งนี้ กลุ่ม Lightnet-WeLab ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ที่จะส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านการเงินให้กับคนไทย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของประเทศที่มีมูลค่าสูงกว่า 16.3 ล้านล้านบาท และลดช่องว่างด้านการเงินของกลุ่ม Underserved ในประเทศไทยให้สามารถเข้าถึงบริการด้านการเงินได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ผ่านการผสานโครงสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่แข็งแกร่งของ Lightnet เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลแบงก์กิ้งของ WeLab

ไซมอน หลุง ได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในผู้ร่วมเสวนาในหัวข้อ Digital Banks vs. Legacy Banks: Will 2025 Be the Tipping Point? โดยภายในงานเสวนา ไซมอน กล่าวว่า เส้นทางของ WeLab เติบโตจากสตาร์ทอัพฟินเทครุ่นบุกเบิกมาสู่บริษัทฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง เราได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก Hong Kong Investment Corporation Limited ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการลงทุนของรัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกง และยังได้รับรางวัล Best Virtual Bank และ Best Bank for Financial Inclusion in Hong Kong จาก Finance Asia ความสำเร็จเหล่านี้ล้วนตอกย้ำศักยภาพในการขยายธุรกิจและความสามารถในการทำธุรกิจของเรา และด้วยจุดแข็งด้านเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เราจึงมีความพร้อมที่จะนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จากความสำเร็จในฮ่องกงและอินโดนีเซียมาสู่ประเทศไทยภายใน 12 เดือนหลังได้รับใบอนุญาต

ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม ประธานบริษัท ไลท์เน็ท กรุ๊ป (Lightnet Group) และที่ปรึกษาอาวุโสกลุ่มทุน Lightnet-WeLab


ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม ได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในผู้ร่วมเสวนาในหัวข้อ Licensing Digital Banks in Asia: Visions and Opportunities โดยภายในงานเสวนา ดร.ชาลี กล่าวว่า จากการเพิ่มขึ้นของปัญหาการหลอกลวงทางการเงินซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางการเงินของประเทศไทย เราได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของศักยภาพด้านเทคโนโลยีของ Virtual Bank ที่จะเข้ามามีบทบาทในการสร้างระบบนิเวศดิจิทัลแบงก์กิ้งที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เป้าหมายของเราไม่ใช่แค่การเปลี่ยนบริการด้านการเงินจากรูปแบบเดิมมาเป็นดิจิทัลเท่านั้น แต่เรายังมุ่งปฏิรูปการให้บริการด้านการเงินจากฐานรากด้วยการผสานเทคโนโลยีความปลอดภัยขั้นสูงเข้าไปในทุกโซลูชันของเราเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้ นอกจากนี้ เรายังได้ลงนามใน MOU ร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแบ่งปันความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการเครดิตและการป้องกันการฉ้อโกงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสนับสนุนการป้องกันการฉ้อโกงทางการเงินในประเทศไทย และด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ออกแบบเฉพาะสำหรับลูกค้าในประเทศไทย เราจึงสามารถส่งมอบบริการด้านการเงินให้แก่กลุ่ม Underserved ที่เข้าไม่ถึงบริการด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านระบบนิเวศที่เข้าถึงผู้ใช้กว่า 46 ล้านรายในหลายกลุ่มอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกร แรงงานนอกระบบ และผู้ประกอบการรายย่อย ที่ล้วนเป็นฟันเฟืองสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยไม่ละเลยมาตรฐานความปลอดภัยและการบริการระดับสูงสุด

อีกหนึ่งไฮไลท์ของงาน Money 20/20 Asia ในปีนี้คือปาฐกถาพิเศษโดย ดร. รุ่ง โปษยานนท์ มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับบทบาทของผู้กำกับดูแลในระบบนิเวศทางการเงินของประเทศไทย

ในปาฐกถาพิเศษ ดร.รุ่ง ได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของผู้เล่นรายเล็กที่มีความคล่องตัว อย่างเช่นฟินเทคและผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ที่มักมีความโดดเด่นในการสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย เธอเน้นย้ำถึงอนาคตของระบบการเงินประเทศไทยที่ต้องให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่น ความปลอดภัย และการเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการแข่งขันที่เปิดกว่างและสร้างสรรค์ ทั้งยังเรียกร้องให้ทุกผู้เล่นในอุตสาหกรรมสร้างความร่วมมือระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ผู้กำกับดูแล สถาบันการเงิน ผู้ประกอบการด้านฟินเทค ไปจนถึงผู้คนและชุมชนที่ให้บริการ เพื่อร่วมกันสรรสร้างนโยบายและรับมือกับภูมิทัศน์ทางการเงินในปัจจุบันที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

แนวทางของกลุ่ม Lightnet-WeLab เป็นตัวอย่างที่สอดรับโดยตรงกับวิสัยทัศน์ของผู้กำกับดูแลข้างต้น ในฐานะผู้เล่นรายใหม่ กลุ่ม Lightnet-WeLab มีแนวทางเพื่อให้คนไทยเข้าถึงบริการด้านการเงินผ่าน 3 กลยุทธ์ที่ทำงานร่วมกัน ได้แก่: 1) การลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านการเงิน 2) การนำเสนอนวัตกรรมทางการเงินที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าคนไทยที่หลากหลาย และ 3) การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการประเมินเครดิตเพื่อขยายบริการด้านการเงินอย่างมีความรับผิดชอบสู่กลุ่ม Underserved แนวทางเหล่านี้ล้วนเป็นการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งของกลุ่ม Lightnet-Welab เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านการเงินให้กับคนไทยโดยไม่ละเลยมาตรฐานด้านความปลอดภัยและจุดแข็งด้านความยืดหยุ่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญ หากได้รับใบอนุญาตการนำเสนอวิสัยทัศน์ของกลุ่ม Lightnet-WeLab ในงาน Money 20/20 Asia 2025 ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากผู้นำในวงการฟินเทค นักลงทุน และสถาบันการเงินชั้นนำ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างไม่ลดละของกลุ่ม Lightnet-WeLab ในการส่งมอบนวัตกรรมโซลูชันทางการเงินดิจิทัล เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนที่ยังเข้าไม่ถึงบริการด้านการเงิน พร้อมสะท้อนกระแสการยอมรับถึงบทบาทสำคัญของ Virtual Banking ที่เพิ่มมากขึ้น ในการกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมการเงิน

 

เกี่ยวกับ Lightnet

Lightnet Group ซึ่งเป็นบริษัทฟินเทคระดับโลกจากประเทศไทย ได้มุ่งมั่นที่จะใช้เทคโนโลยีในการส่งเสริมการเข้าถึงและส่งเสริมประสิทธิภาพบริการด้านการเงิน เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมทางการเงินระดับโลกในอนาคต ภายหลังจากที่ได้รับใบอนุญาตที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางอีก 4 แห่งในเอเชียและยุโรป Lightnet Group ได้ดำเนินธุรกรรมการเงินให้กับลูกค้ารวมมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.6 แสนล้านบาท) บาทต่อปี รวมทั้งนำเสนอโซลูชั่นบริการการชำระเงินหลากหลายรูปแบบในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก Lightnet Group ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันลงทุนผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง เช่น UOB Venture Management, Seven Bank, Hanwha Investment & Securities, Uni-President และ Raffles Family Office

Lightnet Group ผสานความรู้ความเข้าใจตลาดท้องถิ่นเข้ากับประสบการณ์ความเชี่ยวชาญระดับโลก Lightnet ก่อตั้งโดยนายชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นผู้นำองค์กรแถวหน้าอย่าง บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ และ ฟินันเซีย ไซรัส ได้นำเอาประสบการณ์ความรู้ในแวดวงการเงินกว่า 30 ปี ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อกิจการต่างประเทศอย่างนิตยสาร Fortune

ทาง Lightnet Group มีระบบนิเวศจากความร่วมมือกับพันธมิตรในหลากหลายอุตสาหกรรม มีจุดให้ให้บริการกว่า 150,000 แห่งที่สามารถเข้า ถึงฐานลูกค้ากว่า 46 ล้านรายในพื้นที่เมืองและชนบททั่วประเทศ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ lightnet.io หรือติดตามเราที่ LinkedIn

 

เกี่ยวกับ WeLab

WeLab คือแพลตฟอร์มฟินเทคชั้นนำของเอเชีย ให้บริการธนาคารดิจิทัลสองแห่ง รวมถึงนำเสนอบริการทางการเงินออนไลน์ที่หลากหลาย เป็นแพลตฟอร์มชั้นนำในฮ่องกง จีน และอินโดนีเซีย ให้บริการแก่ลูกค้าบุคคลมากกว่า 70 ล้านรายและลูกค้าองค์กรกว่า 700 ราย ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาพลิกโฉมแวดวงการเงินและช่วยประเมินคะแนนเครดิตให้กับลูกค้า ประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้างประสบการณ์ในการใช้งานที่ดี ด้วยเทคโนโลยีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ WeLab เป็นเจ้าของสิทธิบัตร เทคนิคการประมวลผลด้านความเป็นส่วนตัว และศักยภาพเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ล้ำสมัย WeLab นำเสนอโซลูชั่นบริการดิจิทัลแบงก์กิ้งสำหรับลูกค้าบุคคล และโซลูชั่นเทคโนโลยีสำหรับลูกค้าองค์กร

WeLab ดำเนินธุรกิจใน 3 ประเทศภายใต้แบรนด์ชั้นนำ ได้แก่ WeLend และ WeLab Bank ในฮ่องกง และ Bank Saqu ในอินโดนีเซีย รวมถึงอีกหลากหลายธุรกิจทางการเงินในจีน

WeLab ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการลงทุนที่มีชื่อเสียง อาทิ Allianz, China Construction Bank International, International Finance Corporation (หนึ่งในสมาชิกของ World Bank Group), Khazanah Nasional Berhad ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติมาเลเซีย, CK Hutchison’s TOM Group และ Sequoia Capital

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.welab.co และติดตาม WeLab ทาง LinkedIn และ Facebook