“AI” ชื่อของเทคโนโลยีที่เข้ามาปฏิวัติหลายๆ อุตสาหกรรมทั้งการผลิต การเงิน โลจิสติกส์ การขนส่ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการทำงานอย่างมหาศาล ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมการเกษตรก็ไม่ได้น้อยหน้า เพราะ AI กำลังกลายเป็นเครื่องทุ่นแรงสำคัญในการทำเกษตรกรรมให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพสูงขึ้น การจัดการทรัพยากรในอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ หรือการควบคุมศัตรูพืชที่ทำลายผลผลิต เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระของเกษตรกร แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการเกษตรไทยให้เติบโตและยั่งยืนในอนาคต
ด้วยบทบาทที่เพิ่มขึ้นของ AI ในภาคการเกษตร สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI หน่วยงานที่มีภารกิจเชื่อมโยง ส่งเสริม ประสานแก่ทุกภาคส่วนในการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลขนาดใหญ่ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการให้บริการ ได้เล็งเห็นถึงโอกาสและความท้าทายในการนำ Big Data และ AI มาใช้ในการพัฒนาและผลักดันภาคเกษตรไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาหรือ Pain Point ต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและตรงจุดมากยิ่งขึ้น ล่าสุดจึงได้จัดการแข่งขัน “Durian Hackathon 2025” เวทีประชันไอเดียระดับประเทศครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ระหว่างวันที่ 15 - 16 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อเปิดเวทีให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงไอเดียด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Computer Vision สำหรับการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการตรวจจับและแยกแยะวัตถุในภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำ หรือการคาดการณ์โรคพืช ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
โดยทีมที่สามารถคว้าชัยชนะในการแข่งขันครั้งนี้ คือ ทีม ‘เขามันวินเทจ เรามันเกษตรอินทรีย์’ ที่เป็นการรวมตัวของ 5 นักศึกษาจาก 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งโดดเด่นด้วยการนำเสนอโซลูชัน สำหรับจำแนกโรคพืช (Image Clustering) โดยใช้เทคนิค HDBSCAN (Hierarchical Density-Based Spatial Clustering of Applications with Noise) เพื่อจัดกลุ่มรูปภาพที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยใช้เทคนิค CLIP (Contrastive Language-Image Pretraining) ในการแปลงข้อมูลรูปภาพเป็นตัวเลข จากนั้นนำกลุ่มรูปภาพที่ได้มาทำ Classification ด้วย Deep Learning ผ่าน PyTorch Image Models เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ข้อมูลที่ซับซ้อน จากการแบ่ง Label ย่อยให้ละเอียดขึ้น จนนำไปสู่การวิเคราะห์และคาดการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่ผลผลิตอย่างทุเรียน แต่ยังสามารถนำตัว Dataset ที่ทางทีมได้ทำมาสานต่อในส่วนของผลผลิตพืชพันธุ์อื่นๆ ของการเกษตรได้ในอนาคต
· ก้าวออกจากคอมฟอร์ทโซน สู่การเข้าร่วม Durian Hackathon 2025
ธนดล ดรุณศรี นักศึกษาชั้นปี 2 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง เล่าว่า จุดเริ่มต้นของการเข้าร่วมการแข่งขัน
Durian Hackathon 2025 มาจากความต้องการที่จะหาประสบการณ์ใหม่ๆ
ผ่านการลงมือทำจริงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในทีมและผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ จึงตัดสินใจชวนเพื่อนที่เคยร่วมงานในเวที ‘CAI Hackathon’ และ
‘Super AI Engineer ’ มารวมตัวกันเป็นทีม ‘เขามันวินเทจ
เรามันเกษตรอินทรีย์’ ซึ่งเวทีการแข่งขัน Durian Hackathon 2025 ไม่เพียงเปิดโอกาสให้แก่นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น
แต่ยังเปิดกว้างให้กับเด็กมัธยมและเกษตรกรที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับ Data และ AI ด้วย
· ต้อง Intelligence ทั้งคน และ AI ชัยชนะในสนามแข่งขันที่ท้าทายทุกกรอบคิด
พิมพ์มาดา จิระวัธน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
เล่าว่า
การทำความเข้าใจรายละเอียดของการแข่งขันและการคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญมาก
เพราะการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกษตร และการทำความเข้าใจรูปแบบอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันจะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน
และสามารถระบุได้ว่าเราต้องฝึกฝนหรือศึกษาข้อมูลในส่วนไหนเพิ่มเติม
เพื่อให้พร้อมสำหรับการแข่งขันได้อย่างเต็มที่ โดยโจทย์ในครั้งนี้คือการวิเคราะห์ภาพทุเรียนเพื่อพยากรณ์โรคจากข้อมูลที่เก็บจากพื้นที่ปลูกจริงซึ่งเราต้องเริ่มต้นจากการตรวจสอบข้อมูลหาความผิดปกติ
และปรับแต่งข้อมูลให้พร้อมก่อนนำไปพัฒนาโมเดลพยากรณ์
รวมทั้งเลือกใช้อัลกอริธึมที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์โรค
· ‘Team Work’ สิ่งสำคัญในการก้าวข้ามขีดจำกัด และผลลัพธ์ที่อิมแพค
เจนตา วงศ์เลิศสกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่าว่า เนื่องจากตนเองมีประสบการณ์น้อยกว่าผู้ร่วมทีมคนอื่นๆ ทำให้เกิดความท้าทายหลายด้านระหว่างการแข่งขัน เช่น ในเรื่องของ data set ที่จริงควรจะเป็น
multi-class แต่เนื่องจากชุดข้อมูลและ label ที่ค่อนข้างน้อย ก็เลยทำให้เกิดความสับสนว่าต้องจัดการกับข้อมูลอย่างไรดี
แต่ด้วยประสบการณ์จากพี่ๆ ในทีมที่มีความรู้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ก็ช่วยให้สามารถเข้าใจวิธีการจัดการและแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานเป็นทีมและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิกในทีม
ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขันจึงกลายเป็นความท้าทายที่สำคัญ
ที่ช่วยให้เราก้าวไปข้างหน้าและเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพ"
· Unlearn - Relearn - Reskill ของต้องมีเพื่อทันโลกดิจิทัล
ศดิศ วงษ์ประยูร นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่การพัฒนาศักยภาพของตัวเองก็ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่เสมอ เพราะทักษะที่เรามีอาจไม่เพียงพอและไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ดังนั้น การ Unlearn แนวคิดและทักษะรูปแบบเดิมๆ เพื่อเปิดรับสิ่งใหม่, Relearn เทคโนโลยีหรือแนวคิดใหม่ๆ ให้ทันยุคสมัย, และการ Reskill เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่นเดียวกับการเข้าร่วมการแข่งขัน Durian Hackathon 2025 ที่ไม่เพียงแต่ทำให้เราได้ลงมือปฏิบัติจริง แต่ยังได้เรียนรู้สกิลใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีโอกาสได้เรียนมาก่อน เช่น Data Modeling, Machine Learning และ Clustering ซึ่งการสลับไปช่วยส่วนอื่นๆ ของเพื่อนร่วมทีมก็ทำให้เราได้เรียนรู้ทักษะที่หลากหลายขึ้น โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานที่เราร่วมพัฒนากับเพื่อนในทีมจะสามารถนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้แก่เกษตรกรเพื่อประยุกต์ใช้อุตสาหกรรมการเกษตรได้จริงในอนาคต
· BDI สร้างความสตรองด้าน Big Data และ AI ผ่านการเตรียมพร้อมกำลังคน
ด้าน ดร.สุนทรีย์ ส่งเสริม รองผู้อำนวยการสถาบันสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (BDI) กล่าวว่า โจทย์ใหญ่ของ BDI นอกเหนือจากการส่งเสริมและประสานการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การทำงานที่มีประสิทธิภาพและนำไปสู่การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ที่แม่นยำแล้ว และเพื่อสอดรับกับนโยบายรัฐบาล BDI ยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการวางรากฐานและการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยเฉพาะในสาขา Big Data และ AI ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว
“Durian Hackathon 2025 จึงเป็นเวทีสำคัญที่ไม่เพียงเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เปลี่ยนไอเดียให้กลายเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง แต่ยังช่วยส่งเสริมทักษะรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์ข้อมูล การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) การทำงานเป็นทีม การนำเสนอผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการแก้ปัญหาในโลกจริง โดยเฉพาะโจทย์ในภาคการเกษตรซึ่งไม่เพียงเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยจำนวนมาก แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจ และยังมีศักยภาพสูงในการต่อยอดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศ” ดร.สุนทรีย์ กล่าว
การแข่งขันครั้งนี้ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจหลัก BDI ในการยกระดับทักษะดิจิทัล (Digital Upskilling) ให้สามารถก้าวทันเทคโนโลยี และสร้างโอกาสการพัฒนาอาชีพในอนาคต ทั้งยังช่วยให้เกิดการบ่มเพาะบุคลากรที่มีศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น Data-Driven Nation ที่สามารถใช้ Big Data และ AI เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วนของประเทศ
BDI จึงเดินหน้าจัดกิจกรรม Hackathon: AI & Data Innovation for Smart Tourism ร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยา เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Hackathon สร้างนวัตกรรมพลิกโฉมธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ด้วย AI และ Data Innovation เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ - 31 พฤษภาคม 2568 ศึกษารายละเอียดและสมัครได้ที่ https://ict.up.ac.th/hackathon2025/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 093-137-8833 (คุณแพรพลอย สุนทรพฤกษ์) และ 02-480-8833 ต่อ 9587 (คุณเศรษฐสรณ์ ไชยประเสริฐ)
ติดตามอัปเดตข้อมูลและกิจกรรมต่างๆ
ของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI ได้ทางเว็บไซต์ https://bdi.or.th/ และ
Facebook: BDI - Big Data Institute