สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) และเคพีเอ็มจี ประเทศไทย (เคพีเอ็มจี) ร่วมจัดอบรมหลักสูตร Digital Asset Director Program (DAD) ซึ่งเป็นหลักสูตรความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดีที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ โดยตั้งเป้าพัฒนาความรู้ และเสริมศักยภาพด้านสินทรัพย์ดิจิทัลให้กับผู้บริหารและผู้ประกอบการไทย สร้างมาตรฐานการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล สู่การยกระดับอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลไทยให้เติบโตอย่างโปร่งใสและยั่งยืน
อัฏฐ์ ทองใหญ่ อัศวานันท์
ประธานสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) กล่าวว่า “ปัจจุบันสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยสมาคมฯ
มีเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจและหน่วยงานกำกับดูแล
เพื่อสร้างการเติบโตให้ผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
ภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติงานเดียวกัน
พร้อมมุ่งเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสในการดำเนินงานตามแนวทาง ESG
ผ่านการจัดอบรมให้ความรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ
โดยสมาคมฯ ได้ร่วมมือกับเคพีเอ็มจีซึ่งเป็นบริษัทเครือข่ายระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเพื่อยกระดับการบริหารจัดการ
ในการออกแบบหลักสูตร Digital Asset Director Program (DAD) สำหรับผู้นำองค์กร ที่มีจุดเด่นในการให้ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและเปิดกว้างในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ จากมุมมองผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการสามารถรับมือกับความท้าทายและความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
นำไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลและเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน”
ด้าน เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคพีเอ็มจี ประเทศไทย
เมียนมาและลาวเปิดเผยว่า “ปัจจุบันรูปแบบการเงินและการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่จะต้องมี Growth Mindset เพื่อรับมือกับโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ
โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ซึ่งเต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย
การสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษี กฎหมาย
การบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงินของสินทรัพย์ดิจิทัล
จะช่วยให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างเต็มที่ โดยข้อมูลจากผลสำรวจ
CEO
Outlook ล่าสุดของเคพีเอ็มจี ชี้ให้เห็นว่า CEO ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการนำดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจ ซึ่งเทรนด์นี้สอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการสนับสนุนการทำธุรกรรมดิจิทัลและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เคพีเอ็มจีในฐานะบริษัทที่มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญกว่า 140 ประเทศทั่วโลก จึงใช้จุดแข็งด้านความเชี่ยวชาญผสานเครือข่ายจาก TDO
ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรต่าง ๆ
โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล (Governance) ตั้งแต่ระดับผู้นำองค์กรไปจนถึงเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
นอกจากนี้ยังมีการทำแบบทดสอบ ติดตามและประเมินผล
หลังจากการจัดอบรมให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ
ตอกย้ำเป้าหมายของสององค์กรที่มีร่วมกันในการต่อยอดเพิ่มศักยภาพ ตั้งแต่ SMEs,
Startupsไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่เพื่อช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลให้เติบโตอย่างยั่งยืน
และมีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับสากล"
หลักสูตร Digital Asset Director Program (DAD) รุ่นที่ 1 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 – 28 มีนาคม 2568 มีเนื้อหาสำคัญที่คลอบคลุมการบริหารจัดการที่ดีในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล ตั้งแต่การดำเนินงาน การกำกับดูแล และการบริหารความเสี่ยง รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารองค์กร ซึ่งเปิดโอกาสให้ทั้งผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมและผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้ โดยการจัดอบรมในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากผู้นำในหลากหลายองค์กร ที่มาร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อต่างๆ
หลักสูตร
Digital Asset Director Program (DAD) ถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการไทยให้พร้อมรับมือกับยุคสินทรัพย์ดิจิทัล
มุ่งสร้างผู้นำที่เข้าใจทั้งโอกาส ความเสี่ยง พร้อมการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล
โดยวางแผนต่อยอดความร่วมมือสู่หลักสูตรเพิ่มเติมสำหรับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
ในช่วงกลางปี 2568 นี้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนร่วมกัน
สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO)
สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) จัดตั้งเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ภายใต้ พ.ร.บ. สมาคมการค้า พ.ศ. 2509 วัตถุประสงค์ มุ่งเป็นศูนย์กลางให้ข้อมูลและพัฒนาอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลให้มีมาตรฐานและเสถียรภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนและผู้ประกอบการ ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล รวมจำนวน 22 ราย