22 มี.ค. 2568 87 0

MFEC เผยปี 67 กำไร 272.3 ล้าน ตั้งเป้าปี 68 โต 15% ทุ่มลงทุน AI และ Cybersecurity หนุนธุรกิจไทยลดต้นทุนไอที 30% ฝ่าเศรษฐกิจผันผวน

MFEC เผยปี 67 กำไร 272.3 ล้าน ตั้งเป้าปี 68 โต 15% ทุ่มลงทุน AI และ Cybersecurity หนุนธุรกิจไทยลดต้นทุนไอที 30% ฝ่าเศรษฐกิจผันผวน


รูปภาพ: ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) (ซ้าย), ธนกร ชาลี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) (ขวา)


บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ผู้นำด้านไอทีครบวงจร จัดงาน MFEC Inspire 2025: Simplify Your IT Investment for a Future-Ready Business โดยมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอการลงทุนด้านเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่สามารถช่วยลดต้นทุนทางด้านไอทีสูงสุด 30% ผ่านโซลูชันไอทีที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพหรือประสิทธิภาพขององค์กร พร้อมชู 3 กลยุทธ์โซลูชันหลัก ได้แก่ Cost Optimization, Data & AI และ Cybersecurity เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายทางธุรกิจขององค์กรไทยในยุคดิจิทัล โดยในปี 2568 MFEC ตั้งเป้าหมายสร้างรายได้เติบโตต่อเนื่อง 15% จากผลการดำเนินงานสิ้นสุดในปี 2567 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 272.3 ล้านบาท พร้อมวางแผนขยายธุรกิจบนพื้นฐานความต้องการขององค์กรที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นการลงทุนด้านเทคโนโลยี AI และ Cybersecurity เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจของลูกค้า โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดกลางซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของบริษัทฯ ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์องค์รวมในการเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานขององค์กรในการให้บริการผู้ใช้ปลายทาง (End-Users) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลครบทุกมิติได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

การลงทุนเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์เสริมแกร่งธุรกิจท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ องค์กรธุรกิจต้องรับมือกับความท้าทายในการปรับตัวให้ทันกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันความท้าทายทางเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ต้องวางกลยุทธ์และพัฒนากระบวนการที่ลดต้นทุนให้มากที่สุดโดยที่ยังคงรักษาคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร


ธนกร ชาลี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า MFEC มุ่งเน้นการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาธุรกิจของลูกค้า โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยี AI และ Cybersecurity ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ในขณะที่เทคโนโลยีกำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและปัจจัยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจยังคงสูง การวางกลยุทธ์การลงทุนในเทคโนโลยีอย่างรอบคอบจึงเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ การประเมินผลกระทบและประโยชน์จากเทคโนโลยีในเชิงกลยุทธ์เป็นกุญแจสำคัญในการเลือกโซลูชันที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันต้องให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนไอทีอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันหลายองค์กรในประเทศไทยยังคงใช้งาน IT Infrastructure ที่มีต้นทุนสูงเกินความจำเป็น การปรับเปลี่ยนไปสู่โครงสร้างระบบที่ยืดหยุ่นและคุ้มค่ามากขึ้นจะช่วยให้ธุรกิจมีพื้นที่ในการลงทุนในนวัตกรรมอื่นๆ ได้มากขึ้น การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาปรับใช้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานขององค์กร แต่ยังเสริมสร้างความแข็งแกร่งในหลายมิติ ทั้งทางด้านความรวดเร็ว ความแม่นยำ และความปลอดภัย ซึ่งช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ”


พลิกโฉมธุรกิจสู่อนาคตด้วย 3 โซลูชันหลักจาก MFEC

MFEC ให้ความสำคัญกับการลงทุนในเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ โดยมุ่งพัฒนาโซลูชันที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และยกระดับความปลอดภัยในระบบสารสนเทศ ผ่าน 3 โซลูชันหลักดังนี้

·       Cost Optimization: ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่ลดลงจากการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพหรือประสิทธิภาพขององค์กร

·       Data & AI: ยกระดับการจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ผ่านการผสานรวมกับ AI เพื่อเชื่อมต่อทุกองค์ประกอบให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิด AI Driven Insights สร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจที่แม่นยำและชาญฉลาด

·       Cybersecurity: เพิ่มความปลอดภัยให้องค์กรภายใต้แนวทาง Zero Trust Security และ AI-Powered Security เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้แบบเชิงรุก พร้อมลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลสำคัญ และการดำเนินงานขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ


โดยในงาน MFEC Inspire 2025: Simplify Your IT Investment for a Future-Ready Business ซึ่งจัดขึ้นในวันพฤหัสบดี ที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา ณ ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ จะแบ่งออกเป็น 3 Pavilions ได้แก่ Cost Optimization, Data & AI, และ Cybersecurity ซึ่งรวบรวมโซลูชันเพื่อช่วยให้องค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ก้าวให้ทันเทรนด์การใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนทางด้านไอที และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

เกี่ยวกับ MFEC

บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็มเฟค (MFEC) ผู้นำด้านการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ไอทีครบวงจรที่ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่ การให้คำปรึกษาด้านการออกแบบโซลูชันเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงความต้องการ และพัฒนา ฝึกอบรม และให้บริการหลังการขายสำหรับไอทีโซลูชัน บริการที่เกี่ยวเนื่องกับฮาร์ดแวร์และโครงสร้างพื้นฐานของซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ของระบบ การปรับเปลี่ยนและขยายซอฟต์แวร์แพ็คเกจ ตลอดจนพัฒนาซอฟต์แวร์ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ

เอ็มเฟค (MFEC) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 มีความเชี่ยวชาญในด้านบริการให้คำปรึกษา พัฒนา และวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นให้บริการลูกค้าในกลุ่มวิสาหกิจทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ซึ่งเป็นผู้นำอุตสาหกรรมที่มีความต้องการงานบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสูง เช่น กลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม สถาบันการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต รัฐวิสาหกิจและสาธารณูปโภค และบริการทางการแพทย์ ขอบเขตการบริการครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษา การพัฒนา และวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศแอปพลิเคชันทางธุรกิจและบริหารองค์กร โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาที่เน้นการพัฒนาโซลูชันจากประสบการณ์ในกลุ่ม อุตสาหกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย


MFEC INSPIRE 2025: SIMPLIFY YOUR IT INVESTMENT FOR A FUTURE-READY BUSINESS

ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการดำเนินธุรกิจและผลประกอบการของ MFEC  

·     ผลการดำเนินงานของ MFEC สำหรับปี 2567 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทฯ มีการเติบโตของกำไรจากการดำเนินกิจกรรมตามปกติเพิ่มขึ้นสูงถึง 218 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 853 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ การเพิ่มขึ้นของอัตรากำไรขั้นต้นจากรายได้ในธุรกิจหลัก แม้ว่ารายได้รวมจะเติบโตไม่มากเท่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาสืบเนื่องสาเหตุหลักในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการคลาวด์ ซึ่งทำให้รายได้ในส่วนนี้ลดลง แต่กลุ่มบริษัทฯ ยังคงมีรายได้ที่เกิดขึ้นประจำ (Recurring Income) จากสัญญาบริการดูแลบำรุงรักษาระบบสารสนเทศของหน่วยงานและองค์กรแบบ ครบวงจรที่เติบโตอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงทางรายได้ในระยะยาว

·       ในปี 2567 ผลประกอบการของกลุ่มบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) เพิ่มขึ้นจำนวน 20.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.3 จากปี 2566 เนื่องจากกลุ่มบริษัทฯ มีรายได้จากสัญญาบริการดูแลบำรุงรักษาระบบสารสนเทศของหน่วยงานและองค์กรแบบครบวงจร (System Maintenance Service) คิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 9.7 ส่งผลให้บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงด้านต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ “กำไรจากการดำเนินกิจกรรมตามปกติ” ของกลุ่มบริษัทฯ ในปีปัจจุบันเติบโตสูงขึ้นเป็นอย่างมีนัยสำคัญ   โดยคิดเป็นร้อยละ 853 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

·       ในปี 2568 MFEC ตั้งเป้าหมายผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง 15%  ผ่าน 3 กลยุทธ์โซลูชันหลัก ได้แก่ Cost Optimization, Data & AI และ Cybersecurity เพื่อรองรับความต้องการลงทุนเทคโนโลยีในองค์กรยุคดิจิทัล ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดกลางที่มีอัตราการเติบโตสูงและต้องการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันกับองค์กรขนาดใหญ่ได้ ในปัจจุบัน องค์กรขนาดกลางหลายแห่งต้องการโซลูชันที่สามารถ "ปรับใช้ได้รวดเร็ว" ควบคู่ไปกับ "ความคุ้มค่า" ซึ่ง MFEC ในฐานะผู้นำด้านไอทีครบวงจรสามารถนำประสบการณ์และความรู้จากการให้บริการกับองค์กรขนาดใหญ่มาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ขององค์กรขนาดกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

·     นอกจากนี้ MFEC ยังให้ความสำคัญกับ Generative AI และ Agentic AI เพื่อนำมาใช้พัฒนาและต่อยอดในงาน Data Analytics, Automation รวมถึงการพัฒนาบริการใหม่ๆ ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทั้งองค์กรลูกค้า (B2B) และผู้ใช้งานปลายทาง (End-Users) อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลเกี่ยวกับงาน MFEC Inspire 2025: Simplify Your IT Investment for a Future-Ready Business

·       MFEC Inspire 2025 คือ งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีประจำปีที่จัดโดย บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ผู้นำด้านไอทีครบวงจร เพื่อนำเสนอโซลูชันที่ตอบโจทย์ความท้าทายทางธุรกิจขององค์กรไทยในยุคดิจิทัล ภายใต้แนวคิด "Simplify Your IT Investment for a Future-Ready Business" โดยนำเสนอ 3 กลยุทธ์โซลูชันหลัก ได้แก่ Cost Optimization, Data & AI, และ Cybersecurity ซึ่งมุ่งเน้นในการช่วยให้องค์กรสามารถลงทุนด้านเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์และพัฒนากระบวนการที่ช่วยลดต้นทุนให้สูงสุด โดยที่ยังคงรักษาคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร และเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับระบบสารสนเทศ

·       ในปัจจุบัน ธุรกิจต่างๆ ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งในด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ดังนั้น การลงทุนในด้านเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น MFEC ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ โดยนำเสนอ 3 กลยุทธ์ โซลูชันหลักเพื่อลดต้นทุนไอทีอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

1.        Cost Optimization: ยกระดับความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจด้วยต้นทุนที่ลดลง จากการเลือกใช้ Technology ที่เหมาะสม แบ่งออกเป็น 3 โซลูชัน ดังนี้

1.1    Architecture Modernization: พลิกโฉมโครงสร้างพื้นฐานระบบที่พร้อมรองรับอนาคตให้คล่องตัว เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และขยายธุรกิจให้ราบรื่นและไร้รอยต่อผ่านการออกแบบและจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัยและรองรับธุรกิจใหม่ๆ โดยใช้การลงทุนเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์เพื่อประเมินผลกระทบและประโยชน์จากเทคโนโลยีให้เหมาะสมตามการใช้งาน และแนะนำวิธีการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด ซึ่งรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพจากการนำ AI เข้ามาใช้งานในธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างคลาวด์ได้อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ ลดความหน่วง เพิ่มเสถียรภาพและความทนทานให้แก่ระบบปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐาน และจัดเก็บข้อมูลสำคัญขององค์กรในคลาวด์ส่วนตัวตามข้อกำหนด

1.2    Anything as a Service (XaaS): บริการที่ปรับให้ตรงเป้าหมายขององค์กร มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และคุ้มค่ามากขึ้น

ในยุคดิจิทัลที่ธุรกิจต้องการความรวดเร็วและความยืดหยุ่นสูง การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที หรือ IT Infrastructure ที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนจึงกลายเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรในปัจจุบัน ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ XaaS คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้องค์กรสามารถนำมาใช้งานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการ (On-Demand) ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรสามารถเพิ่มความยืนหยุ่นและประสิทธิภาพการทำงาน ควบคู่ไปกับการลดต้นทุน และเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจอย่างปลอดภัยและมีเสถียรภาพ

1.3    Business Process Improvement with Modernization Solution: เป็นการพัฒนาและปรับปรุง Process ทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยตั้งแต่ Front-End Business จนถึง Back-End Operation รวมถึงการพัฒนา Platform ได้รวดเร็วด้วยความสามารถในการปรับแต่งระบบได้อย่างยืดหยุ่น ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า และนำ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดต้นทุนและเวลา ช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.        Cybersecurity: เพิ่มความปลอดภัยให้องค์กรของคุณปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์ทางธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 โซลูชัน ดังนี้

2.1    Managed Service Security Provider (MSSP)

2.2    DevSecOps

3.        Data & Agentic AI: ใช้ข้อมูลให้เกิดมูลค่า ผสานรวมกับ AI สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็น 6 โซลูชัน ดังนี้

3.1    Corporate Solution: โซลูชันที่พัฒนา AI Governance และกลไกกำกับดูแลการใช้ AI ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้วยการใช้ AI-Driven Analytics เพื่อปรับกลยุทธ์องค์กรให้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

3.2    IT & Operation Solution: การใช้ Data Analytics เพื่อตรวจจับปัญหาและทำ Predictive Maintenance ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT Infrastructure ให้สามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.3    Finance Solution: การนำ AI มาใช้ในกระบวนการ Fraud Detection & Prevention ในการวิเคราะห์ทางการเงิน เพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงกระแสเงินสดเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางการเงิน

3.4    Sales & Marketing Solution: การใช้ AI ในการปรับแต่งกิจกรรมทางการตลาดให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย (Personalization AI) ด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าผ่าน AI-Powered Customer Insights

3.5    People Management Solution: หลักสูตรพัฒนาบุคลากรด้วยการใช้ AI ใน Workforce Optimization เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

3.6    ESG Solution: การใช้ AI ในการติดตามและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน (Sustainability Data Analytics)

ข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์เทคโนโลยี และการลงทุน

ภาพรวมของการลงทุนในเทคโนโลยีในประเทศไทย

·     ภาพรวมของตลาดและทิศทางในการลงทุนในเทคโนโลยีของภาครัฐและภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในระบบป้องกันและเทคโนโลยีเชิงรุก โดยเฉพาะในด้าน AI และ Automation ที่กลายเป็น "ตัวเร่ง" ที่สำคัญในการปรับโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มข้อมูล (Data Platform) ที่ก่อนหน้านี้อาจถูกมองว่าเป็นต้นทุน แต่ปัจจุบันกลับถูกมองว่าเป็น "เครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่ม" และช่วย "ลดต้นทุนทางอ้อม" ทำให้องค์กรต่างๆ เริ่มเห็นความสำคัญและเพิ่มงบประมาณการลงทุนในเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล

·       MFEC วิเคราะห์ว่าการลงทุนด้าน Data & AI และ Cybersecurity จะเติบโตอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการสนับสนุนจากภาครัฐที่ออกนโยบายและกฎหมายด้าน Cybersecurity เช่น พ.ร.บ. ไซเบอร์ และ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act : PDPA) รวมถึงมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล ทำให้ภาครัฐและเอกชนต้องปรับตัว และเพิ่มการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายและเสริมความปลอดภัยให้กับข้อมูลขององค์กร ขณะที่ฝั่งเอกชนก็ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่ต้องการบริการและผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่รวดเร็วและปลอดภัย ทำให้การลงทุนในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Data & AI และ Cybersecurity กลายเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัล

·       MFEC คาดการณ์ว่าเทรนด์เทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปในทิศทางที่จำต้องปรับใช้ Gen AI อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดย AI จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มความแม่นยำ และส่งเสริมการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven Decision) ในขณะเดียวกัน Cybersecurity ยังคงเป็นหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญอย่างยิ่งในท่ามกลาง Modern Threat Landscape โดยเฉพาะภัยคุกคามเชิงรุก เช่น Ransomware, Phishing, Supply Chain Attacks ซึ่งมีความซับซ้อนและก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อความปลอดภัยขององค์กร

·       MFEC ในฐานะผู้นำด้านไอทีครบวงจรเล็งเห็นว่าองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างมองหาโซลูชันที่คุ้มค่า (Cost Optimization) ซึ่งสามารถช่วยให้ระบบไอทีมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญในการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) ทั้งนี้ องค์กรยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่ซับซ้อน เช่น Advanced Persistent Threats (APT), การขโมยหรือรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Breach), และภัยคุกคามจาก Ransomware และ Phishing ซึ่งมักมุ่งเป้าไปที่ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน การรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้จำเป็นต้องใช้โซลูชันด้านความปลอดภัยที่ทันสมัยและสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสภาวะความเสี่ยงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

o    ความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ:

§  ภัยไซเบอร์ที่รุนแรงขึ้นและการโจมตีที่ซับซ้อน องค์กรต้องรับมือกับการโจมตีเชิงรุกที่มากขึ้น ซึ่งการรับมือกับภัยเหล่านี้ต้องอาศัยการลงทุนในระบบความปลอดภัยที่แข็งแกร่งและมีการปรับตัวตลอดเวลา

§  ความท้าทายในการปรับตัวให้ทันกับ กฎหมายไซเบอร์ และมาตรฐานที่เพิ่มมากขึ้น

§  การแข่งขันในตลาดเทคโนโลยีที่สูงขึ้น องค์กรต้องจำต้องพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แตกต่างและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

o   โอกาสทางธุรกิจ จากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI, Automation, และ Cybersecurity เชิงรุกมาใช้ในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนการเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้:

§  สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการ ลดต้นทุน และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

§  สร้างบริการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่จากการนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาและสร้างบริการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด

§  เพิ่มความมั่นคงและประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดช่องโหว่ และสามารถสร้างความมั่นคงให้กับระบบข้อมูลและการดำเนินงานขององค์กร