17 มี.ค. 2568 513 12

บิ๊กโปรเจกต์ภาครัฐ!! ดีอี สำรวจสำมะโนประชากรและเคหะ 2568 แบบใหม่ด้วย Big data ผ่านเครือข่าย 'พี่ไปรฯ' ออนไลน์ถึงหน้าบ้าน

บิ๊กโปรเจกต์ภาครัฐ!! ดีอี สำรวจสำมะโนประชากรและเคหะ 2568 แบบใหม่ด้วย Big data ผ่านเครือข่าย 'พี่ไปรฯ' ออนไลน์ถึงหน้าบ้าน

ประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิด โครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568 ภายใต้แนวคิด เพราะทุกคนสำคัญ ทุกข้อมูลมีความหมาย ร่วมสร้างอนาคตไทยให้ดีขึ้น Everyone Counts, Everyone Matters ดำเนินการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NSO) หน่วยงานภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ดีอี เปิดโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568

การเปิดตัวโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568 ครั้งนี้ จัดขึ้น ณ โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ และประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนคนไทยทุกคนรวมถึงชาวต่างชาติที่พำนักในไทยตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ร่วมใจให้ข้อมูลกับสำนักงานสถิติแห่งชาติผ่านช่องทางออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้เปิดตัว ป๋อ ณัฐวุฒิ สกิดใจ เป็นพรีเซ็นเตอร์ของโครงการ ด้วยภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือและเป็นที่รักของคนไทย ในการช่วยสื่อสารและกระตุ้นให้ประชาชนเชื่อมั่นให้ข้อมูลได้อย่างมั่นใจ  


ประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เผยว่า “กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ กระทรวงดีอี มุ่งมั่นวางรากฐานสำคัญเพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศไทย พร้อมเดินหน้าปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัล ผ่านนโยบาย Cloud First Policy, e-Office และระบบ Paperless เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน เพิ่มความรวดเร็ว และยกระดับบริการภาครัฐให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และหนึ่งในภารกิจสำคัญของปีนี้ คือ โครงการสำมะโนประชากรและเคหะ โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลจากวิธีดั้งเดิม (Traditional Census) เป็นรูปแบบดิจิทัล (Digital Census) ซึ่งประชาชนสามารถตอบแบบสอบถามผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นลำดับแรก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการให้ข้อมูล และขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกคนร่วมตอบแบบสอบถามสำมะโนประชากรและเคหะ ตั้งแต่วันที่


1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป  ขอให้ประชาชนมั่นใจในการให้ข้อมูล เพราะสำนักงานสถิติแห่งชาติ สร้างช่องทางที่น่าเชื่อถือบนแอปพลิเคชันทางรัฐ เว็บไซต์ทางรัฐ และเว็บไซต์สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อทำให้ทุกคนมั่นใจว่าจะไม่มีการหลอกลวง เพราะทุกคนสำคัญ ข้อมูลที่ทุกท่านให้เราจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม และทำให้ภาครัฐจัดสรรทรัพยากรให้ตรงกับความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน”



ภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ "Everyone Counts: สำมะโนประชากรและเคหะ 2568" เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ และขอความร่วมมือจากประชาชนให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ความตอนหนึ่งว่า “ในปี 2568 นี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติกำลังดำเนินโครงการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทุกคน นั่นคือ โครงการสำมะโนประชากรและเคหะ ซึ่งจะเก็บข้อมูลของทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย รวมถึงคนไทยที่ไปต่างประเทศชั่วคราว เจ้าหน้าที่ในต่างประเทศ และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในไทยตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป โดยจะเก็บข้อมูลพื้นฐาน เช่น เพศ อายุ สัญชาติ การศึกษา การทำงาน และข้อมูลที่อยู่อาศัย และได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่าทำไมต้องทำสำมะโนประชากร โดยให้ลองดูกรุงเทพมหานคร ที่มีประชากรอาศัยอยู่จริงอาจถึง 10 ล้านคน แต่ข้อมูลทะเบียนราษฎร์กลับมีไม่ถึง 6 ล้านคน ความแตกต่างนี้ส่งผลต่อการวางแผนพัฒนาในทุกด้าน ข้อมูลสำมะโนประชากรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความเป็นจริง ในครั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น เรียกว่า Digital Census ประชาชนสามารถตอบแบบสอบถามผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นลำดับแรก โดยสามารถให้ข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” เว็บไซต์ “ทางรัฐ.comหรือ เว็บไซต์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ “www.nso.go.thได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 และยังมีคุณมาดีลงพื้นที่เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 21 เมษายน - 19 มิถุนายน 2568 กรณีที่ครัวเรือนใดไม่สะดวกในการให้ข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติให้ความสำคัญสูงสุดกับการรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคล และจะไม่เปิดเผยข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้โดยเด็ดขาด เชิญชวนประชาชนทุกคน ร่วมตอบแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เพราะทุกคนสำคัญ ข้อมูลของทุกท่านจะมีส่วนในการพัฒนาประเทศไทยสู่อนาคตที่ดีขึ้น และได้ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคนที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ สำมะโนประชากรและเคหะ 2568”

ภายในงานยังได้มีการพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงาน 3 ส่วนสำคัญ ประกอบไปด้วยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การใช้แอปพลิเคชัน ‘ทางรัฐ’ อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการตอบแบบสอบถามออนไลน์ โครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568” ระหว่างสำนักงานสถิติแห่งชาติ กับ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน), “การประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้ และเก็บรวบรวมข้อมูลโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568” ระหว่างสำนักงานสถิติแห่งชาติ กับ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด และ “การส่งข้อความสั้น (SMS) เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตอบแบบสอบถามออนไลน์ โครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568” ระหว่าง สำนักงานสถิติแห่งชาติ กับ  บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AIS) บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TRUE) และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568 ไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จต่อไป



โดยยังมีการเสวนา 2 หัวข้อสำคัญ ได้แก่ หัวข้อ “Big Data, Big Responsibility เชื่อมั่นในการให้ข้อมูลสถิติ เพื่อความก้าวหน้า” โดยมีพันตำรวจเอก สุรพงศ์ เปล่งขำ เลขาธิการ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.), เอกพงษ์ หริ่มเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ (AOC), ยุทธศาสตร์ นิธิไพจิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และพันตำรวจเอก ณัทกฤช พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (สกมช.) ที่กล่าวถึงความสำคัญของข้อมูลสถิติและความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของประชาชน ต่อด้วยการเสวนาหัวข้อ “Unlock"





ดีอี - สสช. – ไปรษณีย์ไทย” จับมือ สำรวจสำมะโนประชากรและเคหะ 2568 ผ่านเครือข่าย พี่ไปรฯ เริ่มเม.ย นี้

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ และไปรษณีย์ไทย ร่วมมือดำเนินโครงการสำรวจสำมะโนประชากรและเคหะ ปี 2568  รุกเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนานโยบายสำหรับพัฒนาประเทศในอนาคต โดยในปีนี้จะใช้วิธีการที่หลากหลาย  ทั้งในรูปแบบสำมะโนแบบดิจิทัล (Digital Census) รูปแบบข้อความสั้น SMS รวมทั้งใช้เครือข่ายบุรุษไปรษณีย์  ภายใต้โครงการ “Postman Cloud” ร่วมเก็บข้อมูลสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกตอบแบบสอบถามบนช่องทางดิจิทัล โดยจะเริ่มเดือนเมษายนนี้


ประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร เป็นข้อมูลสำคัญที่ภาครัฐใช้เพื่อบริหารงานนโยบายต่าง ๆ และกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศ รัฐบาลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงดำเนินโครงการสำรวจสำมะโนประชากรและเคหะ โดยมอบหมายให้ไปรษณีย์ไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวง ดศ. ใช้ความเชี่ยวชาญและใกล้ชิดของเครือข่ายบุรุษไปรษณีย์ มาช่วยในการเก็บข้อมูลและสนับสนุนขับเคลื่อนให้โครงการสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่กำหนด

รัฐบาลและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เชื่อมั่นว่าการสำรวจสำมะโนประชากรและเคหะในปีนี้
จะมีความแม่นยำขึ้นกว่าครั้งที่ผ่านมาอย่างมาก โดยการสำรวจจะมีทั้งรูปแบบสำมะโนแบบดิจิทัล
(Digital Census) รูปแบบข้อความสั้น SMS รวมทั้งยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับคนไทยอย่างไปรษณีย์ไทย ที่จะมาสนับสนุนเติมเต็มการสำรวจในกลุ่มของประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงการตอบแบบสอบถามบนช่องทางดิจิทัล
ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีของบุรุษไปรษณีย์กับพี่น้องประชาชน จะทำให้ได้รับความไว้วางใจในการร่วมตอบแบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลมาช่วยสร้างพลังขับเคลื่อนประเทศในรูปแบบนโยบาย รวมถึงการปฏิบัติงานเชิงรุกในอนาคตเหมาะกับบริบทประชากรไทยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย”


ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทย   พร้อมสนองนโยบายรัฐบาลและกระทรวง ด. ในการดำเนินโครงการสำรวจสำมะโนประชากรและเคหะ .. 2568  โดยไปรษณีย์ไทยจะมีบทบาทในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการเก็บแบบสอบถามจากประชาชนที่ไม่สะดวกตอบด้วยตนเองผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนตามหลักการและแนวคิดของการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ ผ่านPostman Cloud” เครือข่ายบุรุษไปรษณีย์ หรือพี่ไปรฯ ที่มีความชำนาญและเข้าถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ในครั้งนี้ไปรษณีย์ไทยจะดำเนินการสำรวจข้อมูลประชากรในพื้นที่จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด เชียงใหม่นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และสงขลา ซึ่งมีข้อมูลประมาณ 4 ล้านครัวเรือน คาดว่าจะเริ่มดำเนินงานภายใน เดือนเมษายน 2568 นี้



นอกจากการใช้บทบาทของเครือข่ายบุรุษไปรษณีย์ในการสำรวจข้อมูลแล้ว ไปรษณีย์ไทยยังส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ทุกคนสร้างความเข้าใจที่ดีแก่ประชาชนให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของโครงการฯ ที่จะนำไปสู่การได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านโครงสร้างอายุและเพศ การกระจายตัวของประชากรลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญของประชากรทุกคนทุกครัวเรือนตามที่อยู่จริงในวันที่ทำการสำรวจซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปกำหนดนโยบายและวางแผนการพัฒนาประเทศ และมีผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ตลอดจนเสริมประสบการณ์และความชำนาญด้านการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ในองค์กรไปรษณีย์ไทยในอนาคตได้อีกด้วย